แนวทางการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วรวลัญช์ ดอกรัก มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พชร สาตร์เงิน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การจัดการ, การท่องเที่ยว, วิถีชุมชน, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน 3) ศึกษาปัจจัยในการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีส่วนร่วมในแนวทางการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลถ้ำรงค์ จำนวน 380 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควตา และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพ และประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์กับการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) ปัจจัยในการท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมและนิทรรศการ และ ด้านแพ็คเกจที่มีให้บริการและตัวกลางเชื่อมโยงการบริการของแหล่งท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล กับการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนวิถีชุมชนอย่างยั่งยืน พบว่า ชุมชนควรจะต้องตั้งกฎกติกาให้ชัดเพื่อสร้างวินัยให้กับทุกคน ทั้งยังควรมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนมากยิ่งขึ้น เพื่อหาทางพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นระบบ เกิดการเรียนรู้ในข้อมูลชุดเดียวกันจากปราชญ์ประจำชุมชน เผยแพร่ตามโรงเรียนในตำบลเพื่อสืบทอดให้ลูกหลาน

References

กฤษณ์ จุฑามณี. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ กรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธง คำเกิด, อุทุมพร เรืองฤทธิ์, เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์, จิตราภรณ์ เถรวัตร และชิดชนก มากจันทร. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชมุชนบนฐานรากวิถีชีวติชุมชนอย่างยั่งยืน ของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.

พจนา สวนศรีและสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: สถานบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.มหาวิทยาลัยพายัพ.

เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

เมืองเพชรบุรี. (2566). เครือข่ายการเรียนรู้. เรียกใชเมื่อ 18 มีนาคม 2566 จาก https://www.phetchaburicreativecity.com/th/networkinglearning.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(2), 32-41.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 1-24.

Strydom, A. J., Mangope, D. & Henama, U. S. (2018). Lessons learned from Successful Community-Based Tourism Case Studies from the Global South. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 7(5), 1-13.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31