การประยุกต์ใช้หลักสติปัฎฐาน 4 เพื่อแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นไทยยุคศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุพร สนฺติกโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระอนุพงษ์ นนฺโท มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระศุภกร ปญฺญาพโล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูบวรชัยวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ยุคศตวรรษที่ 21, วัยรุ่น, โรคซึมเศร้า, หลักพุทธธรรม, เทคโนโลยี

บทคัดย่อ

ยุคศตวรรษที่ 21 นั้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยเป็นอย่างมากทั้งในด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็สร้างประโยชน์ทางด้านอำนวยความสะดวกต่อมนุษย์เป็นอย่างมากแต่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็ส่งผลเสียด้วยเช่นกันโดยเฉพาะผลเสียทางด้านสุขภาพจิตนั้นกำลังเป็นปัญหาที่ซับซ้อนในสังคมไทยเวลานี้โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ที่มีปัญหาทางด้านจิตเวชค่อยข้างสูงและปัญหาโรคจิตเวชส่วนใหญ่ก็คือโรคซึมเศร้า ซึ่งวิธีแก้ไขโรคซึมเศร้าของวัยรุ่นในสังคมไทยนั้นค่อยข้างเป็นปัญหาที่มีความท้าทายสูงเพราะการรักษาในอดีตที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้หรือแย่ไปกว่านั้นคือทำให้โรคซึมเศร้ามีอาการแย่ไปกว่าเดิมอย่างไรก็ตามเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 นี้อาจจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นไทยโดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นสุขภาพจิตที่สามารถใช้งานได้ผ่านมือถือซึ่งสะดวกต่อผู้ป่วยในการรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้น โดยแอพพลิเคชั่นนี้สามารถนำหลักพุทธธรรมสติปัฎฐาน 4 มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิในการรักษาโรคซึมเศร้าได้ดียิ่งขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2023). อนาคตสุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2576. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://www.nia.or.th/bookshelf/view/237

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2023). เปิดแนวโน้ม 5 อนาคตสุขภาพจิตคนไทย จุดพลิกผันแห่งความสุขที่ท้าทายในอีก 10 ปีข้างหน้า. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566

จากhttps://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/9381-660119interesting-2.html

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เข้าใจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/17693/

สมบุญ จารุเกษมทวี. (2561). ปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/mental-heath-in-teenager

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยฺตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สติปัฎฐาน 4. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=182

วิลาสินี. (2561). อัตลักษณ์เยาวชนไทยในยุคศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://phd.mbu.ac.th/index.php/2014-08-28-08-57-4/176-wichicchic

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข). (2565). อาการโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://www.camri.go.th/th/knowledge/article/ar2/ar2-52

พระครูบวรชัยวัฒน, & พระปลัดฤทธิพร จารุวณฺโณ (ทุมสุวรรณ).(2565). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเชิงพุทธ หลังการใช้ชีวิตวิถีใหม่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 9, 7 (กรกฎาคม). เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/download/262567/174541/987637

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์.(2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Slipakorn University 10,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 1906-3431.

Hootsuite. (2022). DIGITAL 2022: ANOTHER YEAR OF BUMPER GROWTH. Retrieved 26 September 2023, from https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022-another-year-of-bumper-growth-2/

Löhr, G. (2023). Conceptual disruption and 21st century technologies: A framework. Technology in Society, 74, 102327. https://doi.org/10.1016/j.techsoc.2023.102327

Headspace. (2022). Researching Meditation and Mindfulness – Headspace. Retrieved 27 September 2023, from https://www.headspace.com/science/meditation-research

National Institute of Mental Health. (2022). Technology and the future of mental health treatment. Retrieved 29 September 2023, from https://www.nimh.nih.gov/health/topics/technology-and-the-future-of-mental-health-treatment.

Wong, H. Y. (2015). Technology and its Influence on Education in the 21st Century. Asia-Pacific International university journal 11,1 (june). สืบค้น 30 กันยายน 2566, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/hbds/article/view/177190

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30