ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 2 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปฐมพร ศรีชมพู มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห มหาวิทยาลัยราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21  ปีการศึกษา 2566 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 2 ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ครูผู้สอน จำนวน 108 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 และเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (  = 4.28, SD = 0.49)  2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21  มี  5 ด้านได้แก่ 1) ด้าน บริหารงานเชิงกลยุทธ์ 2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  3) ด้านมนุษยสัมพันธ์  4) ด้านชักนำจูงใจ  โน้มน้าวใจ 5) ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนาศาสตร์ พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา.

เกรียงไกร ธุระพันธ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้นำนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารสันติ ศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(32), 13.

จรัญ บุญช่วย. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2565 จาก knirun1.blogspot.com/2013/04/blog-post_26.html.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. รายงานการประชุม วิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคม อาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ฐิติพร หงษ์โต และ สุวรรณ นาคพนม. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 239.

ธีระ รุญเจริญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.

กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

นวลปรางค์ ภาคสารและจันทนา แสนสุข. (2559). อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรและ ความยุติธรรมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 44.

นันทิยาภรณ์ หงส์เวียงจันทร์ และนิพนธ์ วรรณเวช. (2560). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 90.

นิศาชล นามสาย และคณะ. (2562). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(3), 167.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวิริยาสาสน์.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ปัทฐพงษ์ สุบรรณ และคณะ. (2559). บทบาทของผู้บริหารต่อการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 8(2), 95-96

พงกะพรรณ ตะกลมทอง และคณะ. (2555). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา, 10(1), 240.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30