การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • จงดี เพชรสังคูณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ธภัสธร มิ่งไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • กรศิริ มิ่งไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน จาก 54 โรงเรียนซึ่งได้จากการสุ่มโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วน ประมาณค่าตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert Five’s Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยใช้วิธีเปรียบเทียบรายคู่แบบ Scheffe และ LSD

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ย ( = 3.925) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.441) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนมีค่าเฉลี่ย (  = 4.208) อยู่ในระดับมาก และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (  = 3.143) อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งพบว่าในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแตกต่างกันในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงานพบว่าในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแตกต่างกันในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและด้านการนิเทศการจัดการศึกษา และเมื่อจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ส่วนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

กรมวิชาการ. (2562). บทบาทของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กษิรา วาระรัมย์. (2561). ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กุลฑรี พิกุลเกม. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 . ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัญญา พงษ์ชัย และคณะ. (2562). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ธวัชชัย ธรรมคงทอง. (2565). การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่จันทบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิลวรรณ วัฒนา. (2561). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริศนา สีเงิน. (2564). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพยาภรณ์ เตียวเจริญ. (2565). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2562). ครอบครัวและโรงเรียนหุ้นส่วนเพื่อคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2561). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิมล เดชะ. (2564). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศรุต บุญโนนแต้, จิณณวัตร ปะโคทัง และอนุศักดิ์ เกตุสิริ. (2563, ตุลาคม-ธันวาคม). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 15(ฉบับพิเศษ): 243-251.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (2565). แผนงานประจำปี พ.ศ. 2565. อุบลราชธานี: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กรอบทิศทางการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชา พุ่มพวง. (2564). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30