การประพันธ์ทางเดี่ยว เพลงสุดสงวน สองชั้น

ผู้แต่ง

  • ธีรรัตน์ ศรีช่วงโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การประพันธ์เพลง, ทางเดี่ยว, เพลงสุดสงวน สองชั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การประพันธ์ทางเดี่ยว เพลงสุดสงวน สองชั้น มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาเพลงสุดสงวน สองชั้น และประพันธ์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงสุดสงวน สองชั้น    โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยจากข้อมูลเอกสาร การวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญการประพันธ์เพลงไทย จากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1. เพลงสุดสงวน สองชั้น เป็นเพลงสำเนียงมอญ หน้าทับปรบไก่ ท่อนเดียว 6 จังหวะ ครูกล้อย ณ บางช้าง ประพันธ์ขึ้นจากการตัดทอนเพลงสุดสงวน ในอัตราจังหวะสามชั้น ให้เป็นอัตราจังหวะสองชั้น ต่อมานายมนตรี ตราโมท ได้นำทำนองเพลงสุดสงวน สองชั้นนี้ มาตัดเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา นอกจากนี้เพลงสุดสงวน สองชั้นยังได้ถูกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การนำไปใช้บรรเลงเพื่อประกอบการแสดง การนำไปประพันธ์เป็นทางเปลี่ยน การนำทำนองเพลงไปใช้ในเพลงไทยสากล และการนำไปใช้เป็นเพลงสำหรับการประกวดแข่งขันการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ 2. การประพันธ์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงสุดสงวน สองชั้น ผู้วิจัยได้ประพันธ์ตามแนวทางของ การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ โดยยึดเสียงลูกตกของทำนองหลักเพลงสุดสงวน สองชั้น เป็นสำคัญ และสอดแทรกกลวิธีพิเศษที่ใช้สำหรับการบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ประกอบด้วย การตีสะบัดเรียงเสียงขึ้น การตีสะบัดเรียงเสียงลง การตีสะบัดห้ามเสียง การตีสะบัดสอดสำนวน การตีสะบัดโฉบเฉี่ยว การตีกวาดขึ้น การตีกวาดลง การตีกรอด การตีไขว้มือขึ้น - ลง การตีกระทบคู่ 3 การตีเสียงคู่ 4 คู่ 5 คู่ 8 คู่ 10

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ชำนาญ สวยค้าข้าว และคณะ. (2562). ความสำคัญและอัตลักษณ์ทางเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงทยอยเดี่ยวทางครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1), 193 – 208.

ธีรพงศ์ ทองเพิ่ม และสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2558). การวิเคราะห์ทางเดี่ยวระนาดเอก เพลงพญาโศกของครูสุพจน์ โตสง่า. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 22(1), 207 – 230.

ประชากร ศรีสาคร. (2566). แนวคิดการประพันธ์เดี่ยวซออู้ เพลงกล่อมนารี สามชั้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(1), 71-90.

ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์. (2563). การออกแบบวิธีวิจัยเพื่อประดิษฐ์และถ่ายทอดทางเดี่ยว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(1), 109 – 121.

พิทักษ์ จรรย์นาฏย์. (2566). แบบวิพากษ์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงสุดสงวน สองชั้น. มนตรี ตราโมท. (2538). ดุริยสาสน์ของนายมนตรี ตราโมท. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายมนตรี ตราโมท. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัทพ์ดนตรีไทย ภาคคีตะ – ดุริยางค์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

สุรพล สุวรรณ. (2551). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30