แนวทางการจัดการคดีความมั่นคงของศาลยุติธรรมในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ณทภัค นพัธธนากร มหาวิทยาลัยสยาม
  • ไชยนันท์ ปัญญาศิริ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สมหมาย จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ศาลยุติธรรม, คดีความมั่นคง, จังหวัดชายแดนภาคใต้, การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่, ธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาท หน้าที่และพันธกิจของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการคดีความมั่นคงของสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการจัดการคดีความมั่นคงของศาลยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลไกศาลยุติธรรมในพันธกิจด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 21 คน โดยใช้การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ดำเนินการต่อด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทการจัดการคดีความมั่นคงของสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรปรับใช้กรอบแนวคิดทางการจัดการภาครัฐที่เรียกว่า “การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่” (NPG) ในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงในบริบทการจัดการสาธารณะ 2. ในยุคปัจจุบันที่ต้องแก้ไขปัญหาและวิกฤติต่าง ๆ โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสังคมตามพันธกิจของศาลยุติธรรมจะต้องปรับปรุงคุณภาพกระบวนการยุติธรรมให้มีสมรรถนะเท่าทันกับความซับซ้อนของสังคมโลกตลอดจน ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3) นำแนวทางหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มี หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่าในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ตลอดจนการนำแนวคิดสมานฉันท์มาปรับใช้

References

กฤตวิชญ์ ปิ่มไพบูลย์. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ระหว่าง พ.ศ. 2521-2532. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรพจน์ ไทยเล็ก. (2563). ระบบการพิจารณาคดีที่เหมาะสมสาหรับพิจารณาคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ....เอกสารวิชาการรายบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 19 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรมม,.

เจษฎา สรณวิช. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

ไชยนันท์ ปัญญาศิริ และ สุมิตตรา เจิมพันธ์. (2563). โครงสร้างตามสถานการณ์ขององค์การภาครัฐไทยตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(2), 112-123.

ประคอง เตกฉัตร. (2551). ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับกระบวนการยุติธรรม.วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 1(2), 31-46.

ศาลยุติธรรม. (2565). แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568. (เอกสารวิชาการ).

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-2561). (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.

Bovaird, T., & Loeffler, E. (2012). Engagement to Co-production: The Contribution of Users and Communities to Outcomes and Public Value. Volantes 23, 1119–1138. https://doi.org/10.1007/s11266-012-9309-6

Kickert, W. (1993). Complexity Governance and Dynamics: Conceptual Explorations of Public Network Management. in J. Kooiman (ed.). Modern Governance. London: Sage.

Osborne, S. P. (2010). Introduction: The (New) Public Governance: A Suitable Case for Treatment? In The New Public Governance? : Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.

Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding governance: Policy Networks,Governance, Reflexivity and Accountability. Open University Press, Buckingham.

Pestoff, V. & Brandsen, T. (2010). Public Governance and the Third Sector: Opportunities for Co-production and Innovation? In The New Public Governance? Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Osborne, S. P.(ed.). London: Routledge.

Pestoff, V. (2010). New Public Governance, Co-production & Third Sctor Social Services. Institute of Civil Society Studies, Ersta Skondal University Collage, Stockholm, Sweden.

World Bank Institute. “Governance Matters 2009: World Governance Indicators 1996 – 2008,” Research at The world bank (2009).

World Bank. (1992). Governance and Development. Washington D.C.: The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30