สมรรถนะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติเจติยคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้บริหาร, ศตวรรษที่ 21, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

สังคมโลกยุคปัจจุบันเป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ มนุษย์ต้องดำเนินอยู่ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารสารสนเทศต่างๆ มากมาย การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้ง่ายและรวดเร็ว ถึงแม้แหล่งข้อมูลความรู้จะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ตาม การรับรู้เรื่องราวต่างๆจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การพัฒนาคนในด้านการศึกษาเรียนรู้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาเน้นการสร้างคนเพื่อให้เกิดความเจริญให้กับประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง สมรรถนะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา คือ การมุ่งเสริมสร้างความสามารถให้ทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน และคุณลักษณะที่โดดเด่น สามารถยกระดับองค์กรให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การมุ่งพัฒนาให้บุคลากรมีสมรรถนะจึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาให้มีประสิทธิภาพและได้รับประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ทั้งทางความรู้ ทักษะและเจตคติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2551). ประวัติโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2566 จากhttp//cmi.onab.go.th/Pariyat second/09.historysecondary.pdf.

จรศักดิ์ ศิริมัย. (2561). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2561 จากhttp://competency.rmutp.ac.th.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการบริหาร: กระบวนทัศน์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. กาฬสินธุ์: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ฐิติวัสส์ หมั่นกิจ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา.วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(3), 138.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง สมรรถนะของข้าราชการ. 31 มกราคม2548 จาก http://www.competency.mju.ac.th/doc/11562.pdf.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

อำนวย มีราคา. (2563).บทบาทครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1),221.

พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี). (2557). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีตามหลักกัลยาณมิตร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูนิรุติวรโสภณ (วชิรเมธีวรฉัตร).(2566).กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(4), 1.

พระครูพนมปรีชากร แก้วบุตตา. (2561). อนาคตภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาระหว่าง พ.ศ.2559-2573. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 128.

Spencer, L. M.,&Spencer, S. M. (1 9 9 3 ). Competence at work: Model for superior performance. New York: Wiley.

Arnauld de Nadaillac. (2003). The definition of competencies. Accessed June 12, 2019. Available from http://competency.rmutp.ac.th.

Bell, S. (2015). Reassessing Core Leadership Competencies in Asia, August 3, 2015.Accessed 1 2 February 2 0 2 0 . Available fromhttp://aperiodevelopment.com/2015/08/reassessing-core-leadership-competencies-in-asia/.

McClelland, C. David. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. New Jersey : American Psychologist

Rylatt,A; & Lohan,K . (1995). Creating Training Miracles. Sydnry: Irwin.

The Wallace Foundation. (2012). The school principal as leader: Guiding schools to better Teaching and Learning. Online. Retrieved May 3, 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29