การจัดการความรู้ในการพัฒนาเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จรินทร์ สวนแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • บังอร เบ็ญจาธิกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศีริพร วณิชธนานันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อนงค์วรรณ เทพสุทิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัฐวรรณ สาสิงห์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อดุลย์ เลาหพล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การพัฒนา, เทศบาลตำบลบางเสร่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อการจัดการความรู้ในการพัฒนาเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในการพัฒนาเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ  จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่เป็นบุคลากรของตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 185 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลต่อการจัดการความรู้ในการพัฒนาเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน  130  คน คิดเป็นร้อยละ  70.27  และเพศหญิง จำนวน  55 คน คิดเป็นร้อยละ 29.73 มีอายุระหว่าง 41 – 50  ปี จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 36.21 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน  97 คน  คิดเป็นร้อยละ 52.43  และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำ10,001 – 20,000 บาท จำนวน 83 คน  คิดเป็นร้อยละ 44.86 2) การจัดการความรู้ในการพัฒนาเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปน้อยใน 3 อันดับแรกได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนา อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการฝึกอบรม

References

จุมพล หนิมพานิช. (2554). การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มุมมองในทัศนะทางรัฐศาสตร์ การเมือง และรัฐประศาสนศาสตร์การบริหาร และกรณีศึกษาของไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทพฤฒ วรินทรเวช. (2562). การพัฒนาบุคลากรด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะตำแหน่งของพนักงานเทศบาล : กรณีศึกษาสำนักงานเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. ใน การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จิรวัฒน์ เอ็กเพรส.

พัชรีภรณ์ จันทรส และยุทธชัย ฮารีบิน. (2565). แนวทางการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานพัสดุภาครัฐของเทศบาลเมืองพังงา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 และนานาชาติ ครั้งที่ 4 วิทยาการจัดการเทพสตรีวิชาการ วันที่ 26 – 27 พฤษภาคม 2565 (น.546-559). ลพบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วินิดา หมัดเบ็ญหมาน. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยใช้ KMMM. ใน สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศรีศักดิ์ สุวรรณธรรมมา. (2563). แนวทางการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. ใน การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมาคมนักจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (2557). การพัฒนาองค์การ (Organization Development). กรุงเทพมหานคร : สมาคมนักจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.

Kochikar, V. P. (2004). Towards a Knowledge Sharing Organization: Some Challenges Faced on the Infosys Journey, in M. Rao (ed.) Annals of Cases on Information Technology, Vol. 6(c), Hershey, PA: Idea Group Inc., pp. 244–258.

Lee, J. M., et al. (2009). Short Stature in a Population-Based Cohort Social, Emotional, and Behavioral Functioning. Pediatrics, 124, 903-910.

Senge, P. M. (1990). The Fifth discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. London : Century Press.

Senge, P. M. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York : Currency Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29