ความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

ผู้แต่ง

  • พระครูบวรชัยวัฒน์ (วันชัย เมธิโก) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ปีการศึกษา 2566 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 43 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คาความถี่ (Frequency) ค่ารอยละ (Percentage) คาเฉลี่ย (𝑥̅) และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

          ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 รองลงมา ได้แก่ ด้านสวัสดิการและการบริการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในห้องเรียน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ตามลำดับ

References

กานต์ศิวกร คำวิเศษธนธรณ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการ สอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสาระคาม, 12(2), 46-69.

พระมหาจิรายุทธ ปโยโค และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนที่จะสำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ที่จะสำเร็จ การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13 (2), 190-200.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช. (2566). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). คู่มือหลักสูตร, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ใน รายงานการวิจัย. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2562). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2567 จาก http://www.mua.go.th/university.html.

อํานาจ, นันทพร สุทธิประภา, ธีรวรรณ บุญโทแสง, ธนัสนี สมบูรณ์, วรรณา สายแก้ว, วัฒนาชัย มาลัย และ สุนิดา ทองโท. (2565). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียน การสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 16 (2), 150-159.

Best, J. W. (1981). Research in education Engle Wood Cliff. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. & Fox, K. (1995). Strategic marketing for educational institutions. (2nd Ed.). Upper Saddle River. NJ: Prentice-hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29