การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้แต่ง

  • อธิวัฒน์ อนุเวช วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพัฒน์ หมั่นการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ, , ผู้ประกอบการ, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเจ้าหน้าที่หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องจำนวน 6 คน ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 บริษัท และผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำนวน 14 คน รวม 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก 9 ด้าน ได้แก่ (1) สมรรถนะองค์กร คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านภาวะผู้นำ และด้านการปรับตัว (2) สมนรรถนะการบริหาร คือ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการประสานงาน และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ (3) สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงาน คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาด และด้านการเงินและแหล่งทุน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ (1) ความเป็นผู้ประกอบการ (2) ความร่วมมือภาครัฐและเอกชน และ (3) นโยบายภาครัฐ
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบของสมรรถนะที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะ และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแต่ละส่วนที่แสดงให้เห็นรูปแบบที่สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุสาหกรรม 4.0 เพื่อยกระดับสมรรถนะและศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขัน อยู่รอด และเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

References

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2559). รายงานการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2559 และมอบนโยบายการทำงาน ตาม

ยุทธศาสตร์ 20 ปี. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://www.dsd.go.th/DSD/ Activity/ ShowDetails/23475

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/ industry_plan/thailandindustrialdevelopmentstrategy4.0.pdf

ชิติพัทธ์ วรารัตน์นิธิกุล. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 32(104), 183-199.

ฐนกร บุญจันทร์. (2560). รูปแบบภาวะผู้นําของหัวหน้าฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นปภา มณีรัตน. (2563). รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหาร ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในภาคตะวันออก. วารสารสังคมศาสตร์, 9(1), 60-69.

พีรวุฒิ ศิริศักดิ์. (2559). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ นวัตกรรมองค์การที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การ: ศึกษาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs). วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(3), 11-23.

เรวัต สุนทรวิภาต สมนึก วิสุทธิแพทย์ และธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(3), 547-555.

ศูนย์กสิกรไทย. (2561). แนวโน้มตลาดรถยนต์ไทย ปี พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2561, จาก http://www.thaiauto.or.th/2012/th/news/news-detail.asp?news_id=402

สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย. (2560). ศักยภาพที่แท้จริงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. กรุงเทพมาหานคร: สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย.

สุธีรา อะทะวงษา. (2556). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการและลักษณะของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Entrialgo, M. (2002). The impact of the Alignment of Strategy and Managerial Characteristic on Spanish SEMs. Journal of small Business Management. 40(3), 260-270.

Ferreira, J. M. and Azevedo, S. (2007). Entrepreneurial Orientation as a main Resource and Capability on Small Firm’s Growth. Researchgate. Retrieved on June 26, 2022, from https://www. researchgate.net/publication/24114546

Hambleton, R. K. (1984). Validating the test scores. In R. A. Berk. (Ed). A guide to criterion-referenced test construction. (199–223). Baltimore and London: The Johns Hopkins University Press.

Hellriegel, D.; Jackson, S. E. and Slocum, J. W. (2008). Managing: A competency-based approach. Cincinnati, OH: South-Western College.

Jasra, M. J.; Khan, M. A.; Hunjra, A. I.; Rehman, R. A. and Azam, R. I. (2011). Determinants of Business Success of Small and Medium Enterprises. International Journal of Business and Social Science, 2(20), 274-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29