แนวทางการสนับสนุนของภาครัฐต่อการประกอบการธุรกิจห้องเช่า

ผู้แต่ง

  • บุษยา ทรงสอาด วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพัฒน์ หมั่นการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชาญ ธาระวาส วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการสนับสนุนของภาครัฐ, การประกอบการธุรกิจห้องเช่า, มาตรการภาครัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษามาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการธุรกิจห้องเช่า 2) เพื่อวิเคราะห์มาตรการภาครัฐที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบการธุรกิจห้องเช่า และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสนับสนุนของภาครัฐต่อการประกอบการธุรกิจห้องเช่า ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 8 คน ผู้ประกอบการธุรกิจห้องเช่า จำนวน 10 คน และตัวแทนสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจห้องเช่า จำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เพื่อนำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. มาตรการสำคัญของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจห้องเช่า ได้แก่
    1) กฎหมายคุ้มครองผู้เช่าที่อยู่อาศัย 2) การกำกับดูแลและรับรองมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุน 4) การส่งเสริมความยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และ 5) การสนับสนุนในด้านการศึกษาและการอบรม
  2. มาตรการภาครัฐที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจห้องเช่า ได้แก่
    1) กฎหมายและข้อบังคับที่ซับซ้อน 2) การเงินและภาษี 3) การแข่งขัน 4) ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 5) ความขัดแย้งทางนิติบัญญัติ และ 6) การควบคุมทางการเมือง
  3. แนวทางการสนับสนุนของภาครัฐต่อการประกอบธุรกิจห้องเช่า ประกอบด้วย
    1) การสร้างนโยบายที่เอื้อต่อธุรกิจเช่าห้องพัก 2) การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 3) การสนับสนุนทางวิชาการและการฝึกอบรม 4) การสร้างพื้นที่ที่เหมาะสม และ 5) การสร้างนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). แหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคล และประเภทธุรกิจในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ยุทธศาสตร์กระทรวง พ.ศ. 2560–2564 และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2560–2564. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER18/DRAWER003/GENERAL/DATA0000/00000037.PDF

จักรพรรณ นวนทอง และจิดาภา พรยิ่ง. (2566). มาตรการทางกฎหมายฟื้นฟูการท่องเที่ยวของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กรณีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-191. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 11(13),

-18.

นภนฤตย์ อภิวงศวณิชย์. (2564). ผลกระทบต่อผปู้ระกอบการในการเลิกจ้างแรงงาน. ใน วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลยัรามคำแหง.

ปุณณภา นิยมเสน และเอกศิริ นิยมศิลปะ. (2564). แนวทางสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจห้องเช่าอะพาร์ตเมนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 1-15.

ยลรฉัตร มงคลนิติพัฒน์. (2560). การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษากฎหมายที่เอื้อและลดอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของ SME ในกลุ่มธุรกิจบริการ เสนอต่อ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.).

สำนักงานสถิติแหงชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). สรุปผลที่สำคัญ ประชากรแฝงในประเทศไทย พ.ศ. 2564. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2566, จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/ nso/survey_detail/yS

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/ statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี. (2562). ทำธุรกิจห้องเช่าอย่างไรให้ปังในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/4363.html

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). K SME Analysis ลงทุนถูกทางทำอพาร์ตเมนต์รวยดั่งใจ. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารกสิกรไทย.

อังคณา วงค์ฤทธิ์. (2566). ผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19 ของธุรกิจห้องเช่าในจังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Hambleton, R.K. (1984). Validating the test scores. In R. A. Berk. (Ed). A guide to criterion-referenced test construction. (199–223). Baltimore and London: The Johns Hopkins University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29