การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการสอนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม; การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน; นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการสอนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 30 รูป/คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนได้เอกสารหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม สื่อที่ใช้ประกอบการฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม และเกณฑ์การผ่านหลักสูตรฝึกอบรม และเอกสารประกอบการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วย คู่มือหลักสูตรสำหรับผู้ให้การฝึกอบรมและผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า คะแนนหลังเข้ารับการอบรมของผู้เข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.61, S.D. = 0.49)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ณฐกร หาญประสิทธิ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ Google Classroom เพื่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระปลัดนนทณัฏฏ์ ศฤงคาร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) สำหรับพระสอนศีลธรรม ระดับประถมศึกษา. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2553). การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

วราภรณ์ อาจคำไพ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาศาสตร์การสอนและเทคโนโลยี (TPACK). ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรชัย พิศาลบุตร. (2553). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2534). เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิกร แก้วทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.

เสาวภา ปัญจอริยะกุล. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Beauchamp, George A. (1981). Curriculum Theory. Illinois: The Kagg.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Tyler, R.W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29