การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เดชชาติ ตรีทรัพย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • จินตนา กะตากูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต (รัฐธรรม) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, หลักธรรมาภิบาล, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฃ้างกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 17,282 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ t – test และ f- test

          ผลการวิจัยพบว่า  

  1. การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  2.   ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ที่มี เพศ ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05   
  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ปัญหา  ไม่มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรักความสามัคคีในหน่วยงาน แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรักความสามัคคีในหน่วยงานให้มากขึ้น

References

จินดา พรายแก้ว. (2551). การนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชูวงศ ์ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเณศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์จำกัด.

นพพล สุรนัคครินทร์ . (2547). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบล ตามทัศนะของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบญจวรรณ วันดีศรี. (2546). การศึกษาความเป็นธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ภักดี ศรีเมือง. (2549). การนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มณีรัตน์ ยอดศรี. (2551). การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

รหัส แสงผ่อง. (2547). กระบวนการบริหารพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลของกรรมการบริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29