การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานร่วมกับกระบวนการโค้ช โรงเรียนในสังกัดศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บัญชา ธรรมบุตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, เสริมสร้างคติธรรม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น, กระบวนการโค้ช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 150 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t- Independent)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและหาความต้องการจําเป็น พบว่า อาจารย์และครูภาษาไทยต้องการให้มีหลักสูตรอบรมในเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน เพื่อที่ครูจะได้มีความรู้เกี่ยวกับการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย 2) ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.63, S.D.= 0.05) และมีความเหมาะสมในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.53, S.D.=0.06) 3) ผลการนําหลักสูตรไปทดลองใช้ พบว่า ก่อนอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 19.02, S.D.= 1.66) หลังอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  (  = 27.12, S.D.= 1.17) หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสําคัญ .05 และความสามารถการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.52, S.D. = 0.18) 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมครูเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของครู และนําไปใช้เสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนได้

References

จารุวรรณ ศิลปรัตน์. (2548). การพัฒนารูปแบบเสริมพลังการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของครูอนุบาล. ใน ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยง โดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มนัส สุขสาย. (2544). วรรณกรรมอีสาน เรื่อง ธรรมดาสอนโลก : จารปริวรรตจากอักษรธรรมโบราณอีสานเป็นอักษรไทย. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มูนมังไทยอีสาน.

รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจำลองฝึกระบบฝึกอบรมครูเชิงทักษะปฏิบัติ. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สถิต ภาคมฤค และคณะ. (2553). คุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร, วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(2), 67 – 74.

สมาน รังสิโยกฤษณ์. (2524). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30