การสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรม สำหรับนักเรียนในศตวรรษ ที่ 21

ผู้แต่ง

  • บัญชา ธรรมบุตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รัชนีบูรณ์ เนตรภักดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน, เสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน 3) เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา และนักเรียนระดับประถมศึกษา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดคติธรรม แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความรู้เกี่ยวกับคติธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) ความคิดเห็นของนักเรียน การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2540). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_________. (2543). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน/กรมวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ฉบับภาษาไทย, 10(3), 332 – 346.

ชุติมา สัจจานันท์. (2543). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินค่าวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธวัช ปุณโณทก. (2544). การวิจัยเรื่อง ไทยศึกษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน. วารสารธรรมทรรศน์, 2(1),43.

___________. (2522). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ ชินเสริม. (2565). ละครเวทีสร้างสรรค์จากวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน : ลักษณะเด่นและความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2563). สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540 – 2560). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2) : 174 – 185.

มนัส สุขสาย. (2544). วรรณกรรมอีสาน เรื่อง ธรรมดาสอนโลก : จารปริวรรตจากอักษรธรรมโบราณอีสานเป็นอักษรไทย. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มูนมังไทยอีสาน.

มหาศิลา วีรวงศ์. (2539). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน.

สุดาพร รินสมปาน. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรับใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่กับวรรณกรรมท้องถิ่น. ใน ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิน ทองปั้น. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการสภาพพลเมืองเชิงพุทธ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(2),85 – 100.

อุทุมพร จารมรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณเน้นวิชาวิเคราะห์เมตต้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พันนีพับลิสซิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30