รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นัสพงษ์ กลิ่นจำปา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • จริยา อนันต์สุวรรณชัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • วรรณภา นันทะแสง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้, วิชาชีพ, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยเป็นชุมชนสนับสนุนการแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 4. เพื่อศึกษารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประชากรคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 650 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ได้ตัวอย่างจำนวน 286 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผู้พิจารณาความตรง และทดลองใช้เพื่อนำมาวิเคราะห์ค่า ความเชื่อมั่นแบบครอนบาค 0.895 เคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าสถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน

 

 

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน พบว่า ส่วนมากเป็นครูคิดเป็นร้อยละ 84.20 เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.70 อายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.50 อายุราชการระหว่าง 1-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 59.40 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 71.40 ในโรงเรียนมีการดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู คิดเป็นร้อยละ 85.00 และเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 82.50
  2. องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู พบว่า มีระดับปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( =4.50) และเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม
    ( =4.59) และ 2) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ( =4.51) และมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3 องค์ประกอบ คือ 1) การสนับสนุนและเป็นผู้นำร่วม ( =4.49) 2) การเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ ( =4.48) และ 3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ( =4.43) ตามลำดับ
  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูมีระดับปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.51) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ 1) ด้านวัฒนธรรมองค์กร ( =4.60) 2) ด้านครูผู้สอน ( =4.58) และ 3) ด้านภาวะผู้นำ ( =4.52) และมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบรรยากาศองค์กร ( =4.50) ตามลำดับ
  4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูมีระดับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54)
  5. องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (r=.695**) อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับข้อเสนอแนะการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (r=.776**) อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          การศึกษาตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรทำนายโดยกำหนดให้

          การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (Tc) ผันแปรไปตามองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (Ta) พบว่า การเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ (Ta3) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (Ta5) และ การสนับสนุนและเป็นผู้นำร่วม (Ta2) สามารถร่วมกันทำนายได้อย่างถูกต้อง หรือมีอำนาจการทำนาย (R2 ) = .488 หรือ 48.80% ดังสมการทำนายดังนี้

          Tc= 1.481+287(Ta3)+.219(Ta5)+.175(Ta2)

          การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู (Tc) ผันแปรไปตามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู(Tb) พบว่า ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Tb3)  ด้านบรรยากาศองค์กร (Tb4) และ ด้านครูผู้สอน (Tb1)  สามารถร่วมกันทำนายได้อย่างถูกต้อง หรือมีอำนาจการทำนาย (R2 ) = .607 หรือ 60.70ดังสมการทำนายดังนี้

Tc= .781+.158 (Tb3)+.283(Tb4)+.249(Tb1)+.137(Tb2)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมธัยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา, 9(3),392-406.

นิพล อินนอก. (2556). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศกลวรรณ สินประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผล ต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทาง การพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการพัฒนาขาราชการครูเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งสายงานผู้บริหารในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 2rd ed. New York : Harper. and. Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30