การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล

ผู้แต่ง

  • สถิตย์ กุลสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
  • โสภา ชัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
  • ฐิติวัสส์ หมั่นกิจ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู, คณะศึกษาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model ของ Danial L.Stuffle Beam กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน นักศึกษา  จำนวน 123 คน บัณฑิต จำนวน 123 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 123 คน โดยเลือกสุ่มอย่างง่าย รวมทั้งสิ้น จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล พบว่าด้านบริบท อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.32) นักศึกษามีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =3.98) และบัณฑิตมีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับระดับมาก ( =3.87) ด้านปัจจัยนำเข้าหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน มีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.23) นักศึกษามีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.12) และบัณฑิตมีความเห็นเหมาะสมในระดับมาก ( =4.22) ด้านกระบวนการหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นเหมาะสมในระดับมาก ( =4.18) นักศึกษามีความเห็นในระดับมาก ( =4.22) และบัณฑิตมีความเห็นในระดับมาก ( =4.20) การประเมิน ผลผลิตด้านคุณลักษณะโดยนักศึกษามีความเห็นเหมาะสมระดับมาก ( =4.45) บัณฑิต มีความเห็นเหมาะสมในระดับมาก ( =4.50) และการประเมินผลผลิตด้านผลกระทบหลักสูตรโดยผู้ใช้บัณฑิตเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของบัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.39)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

เจษฎา จันทร์เปล่ง. (2562). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา และคณะ. (2565). การประเมินหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสาร HRD Journal มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 95-103.

นพพร แหยมแสง. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 3668-3680.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน รายงานวิจัยคณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มารุต พัฒพล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิทยาลัยสันตพล. (2562). หลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล. อุดรธานี: วิทยาลัยสันตพล.

สถิตย์ กุลสอน. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. อุดรธานี: ภาคอีสานการพิมพ์ (999).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Stufflebeam, Daniel L. (1973). Education Evaluation and Decision Making. In Educational Evaluation: Theory and Practice. Belmont, California: Wadsworth Publishing Comp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30