การบูรณาการพุทธธรรมกับแนวคิดทฤษฎีกระบวนการและหน้าที่ ในการบริหารสถานศึกษา
คำสำคัญ:
การบูรณาการพุทธธรรม, แนวคิด ทฤษฎีกระบวนการ, หน้าที่ในการบริหาร สถานศึกษาบทคัดย่อ
การบริหารสถานศึกษาถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องการให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตลอดจนตอบสนองความต้องการของสังคมโลกได้ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของการบริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา นโยบายการศึกษา และแผนการศึกษา ที่เป็นระบบบริหารจัดการของรัฐ เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของระบบการศึกษา การทำงานของผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องประกอบด้วยหน้าที่ 4 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์กร ภาวะผู้นำ และการควบคุม นอกจากนี้ยังมีหลักพุทธธรรมที่สำคัญตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่มีความสัมพันธ์กับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในทุติยปาปณิกสูตร ได้แก่ 1) จักขุมา มีปัญญามองการณ์ไกล หรือมีทักษะด้านความคิด 2) วิธูโร ทักษะด้านการปฏิบัติงาน ความชำนาญการด้านเทคนิค และ 3) นิสสยสัมปันโน ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ความชำนาญด้านมนุษยสัมพันธ์ เป็นผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี รวมถึงหลักธรรมที่ผู้บริหารสถานศึกษานำมาบูรณาการใช้ในการบริหารตน คือ สัปปุริสธรรม 7 การบริหารคน คือ เหฎฐิมทิศ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 การบริหารงาน คือ อิทธิบาท 4 เพื่อให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จและสามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทวี. พริ้นท์ (1991).
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.
ธีระรัตน์ กิจจารักษ์. (2542). เอกสารคำสอนวิชาการบริหารการศึกษา. เพชรบูรณ์: สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 9.
พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนร่วมจังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระครูใบฏีกาวิเชียร มหาวชิรปัญโญ (คันทา). (2565). การนำหลักพุทธรรมมาบูรณาการการบริหารและการนำสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 382-384.
พระครูปฐมธีรวัฒน์ (บัญชา เทียนทอง). (2563). การบูรณาการเชิงพุทธกับการบริหาร. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 486.
พระธนิษฐ์ ศรีสมบัติ, จิราภรณ์ ผันสว่าง และ สุเทพ เมยไธสง. (2566). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคน และครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(1), 1-11.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธัมมจิตโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543 ก). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสหัส ฐิตสาโร. (2561). หลักธรรมสำหรับนักบริหาร. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 19.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2545). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2542). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำลี รักสุทธิ. (2546). คู่มือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ใหม่ของ ก.ค. บูรณาการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลที่เกิดกับผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
Bartol, K. M. and Martin, D. C. (1991). Management. New York: McGraw – Hill
_____.Bartol, K.M. and Martin, D.C. (1997). Management. (2nded). New York: McGraw-Hill.
Beane, J. A. (1991). Curriculum Planning and Development. Boston: Allyn and Bacon.
Dessler, G. (2004). Management: Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. (3thed). Florida: UG/GGS Information Services.
Dubrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. South-Western: Cengage Learning.
Herbert, A. S. (1947). Administrative Behavior. New York: Macmillan.
Robbins, S. P. (1994). Essentials of Organization Behavior. (4thed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.