ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1

ผู้แต่ง

  • เก๋ ทองสอาด มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สถิรพร เชาวน์ชัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ยุคดิจิทัล, ส่งเสริมความสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสามรถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 285 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นการปรับปรุง และแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 ในภาพรวมเท่ากับ 0.105 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้แนวดิจิทัล 2) แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 ว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้แอพลิเคชั่น ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์สถานศึกษา สร้างเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ สนับสนุนงบประมาณ และจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย กำกับ นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี

References

นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารหารศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้(ยุคดิจิทัล): THAILAND 4.0 ในปรารถนาโกวิยางกูร (บ.ก.) สาขาบริหารการศึกษา การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครุศาสตรวิจัย เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2566 จาก https://

www.edu.lpru.ac.th/eduresearch/nace2017/NACE2017.pdf.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). ทักษะ 7C ของครู 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศลินธร พึ่งเมือง. (2565). แนวทางส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สิวราช อินต๊ะวิชัย. (2563). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

สุรศักดิ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.addkutec3.com.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30