แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปุณณภา ธะนะรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, สมรรถนะ, ครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 โดยใช้แบบสอบถามสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การศึกษาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 135 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
  2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย ซึ่งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษาในการเข้าร่วมการอบรม และครูปฐมวัยควรเข้าร่วมชุมขนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะ

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(2), 45-56.

ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง และคณะ. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(1), 713–727.

ปรียาภรณ์ หนองบัว. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 797- 810.

เยาวลักษณ์ มูลสระคู. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการวัดผลการศึกษา, 21(2), 250-265

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษา : แนวทางการยกระดับคุณภาพการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัยในสถาบันอุดมศึกษาของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). รายงานผลการติดตาม : การดำเนินงานตามมาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เซ็นจูรี่.

สุพรรณี คะหาวงศ์. (2565). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Mirjam, A. (2010). Professional competence of English teachers in Indonesia, A profile of exemplary teachers. Indonesian Journal of English Language Teaching, 2(2), 107-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30