แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

ผู้แต่ง

  • ศุภางค์ เสาะใส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการสอน, การพัฒนาประสิทธิภาพการสอน, แนวทางการพัฒนา ประสิทธิภาพการสอน

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำนวน 726 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิการเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน
  2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่าสำนักงานเขตพื้นที่ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครือข่ายครูในการพัฒนาประสิทธิภาพการสอน ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนและให้คำแนะนำช่วยเหลือทุกด้าน ศึกษานิเทศก์ให้การนิเทศแบบช่วยเหลือ และครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการสอน ครูพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอมีการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 

 

References

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณพิมพ์3.

ชวลิต เกิดทิพย์. (2564). แนวทางการพัฒนาและความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ในจังหวัดยะลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 269-285.

ธนาพล บัวคำโคตร. (2563). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 89–103.

รังสรรค์ แสงแก้ว. (2557). แนวทางพัฒนาการบริหารงานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูในถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 6(1), 102– 113.

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม). (2563). รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม). เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2567 จาก https://kjn.ac.th/

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรื่อง, และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 3 สิงหาคม 2566 จาก http://www.ict phrae2. com/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.obec.go.th/.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30