ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณัฐธยาน์ เพ็งสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทัศนะ ศรีปัตตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความต้องการจําเป็น, สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ครูประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนและครูต้องปรับตัวสู่การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ครูต้องมีทักษะในการนำสื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูภาษาอังกฤษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก วิธีดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2566 จำนวน 39 โรงเรียน จำนวน 123 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะที่มีความต้องการในการพัฒนาสูงสุด คือ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาวิชาชีพ และการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีความต้องการในการพัฒนาต่ำสุด คือ ด้านเจตคติในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามกฎหมาย จริยธรรมและความปลอดภัย อยู่ในระดับน้อยที่สุด

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปาริชาติ เภสัชชา. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(59), 95.

ปิยาภรณ์ อัครลาวัณย์. (2562). การศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ ของครูสอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พงษ์พัชรินท์ พุธวัฒนะ. (2561). การจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาผูเรียนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการเรียนรูและเทคโนโลยี.

พีระวัตร จันทกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาณุมาศ เกษรสุริวงค์. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เยาวลักษณ์ มูลสระคู. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งหทัย บุญพรม. (2563). Digital Learning Platform: เทรนด์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญาพัฒน์, 39 (1), 84-89

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์. (2565). แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่

เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพจนีย์ พัดจาด. (2554). รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(3), 57-77.

อมรรัตน์ ทับทิมทอง. (2562). ความต้องการจําเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อุบลรัตน์ หริณวรรณ. (2563). การเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30