กฎหมายการศึกษากับหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัฒนา ยอดสะอึ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศิวกร อินภูษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

กฎหมายการศึกษา, การบริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

กฎหมายการศึกษาในประเทศไทยมีความสำคัญในการกำหนดบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบของบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ภายใต้เป้าหมายในการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดการศึกษาแก่ประชาชนทุกคน หลักการและเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม การส่งเสริมให้คนไทยมีจริยธรรม วัฒนธรรม และทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ การเตรียมคนไทยให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในโลก มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการศึกษาของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพและสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ การบริหารสถานศึกษาถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องการให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตลอดจนตอบสนองความต้องการของสังคมโลกได้ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของการบริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา นโยบายการศึกษา และแผนการศึกษา ที่เป็นระบบบริหารจัดการของรัฐ เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของระบบการศึกษา การทำงานของผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องประกอบด้วยหน้าที่ 4 ประการคือ การวางแผน การจัดองค์กร ภาวะผู้นำ และการควบคุม

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.ท.).

เกษียร เตชะพีระ. (2557). กฎหมายการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฑามาศ ศรีสวัสดิ์. (2560). กฎหมายการศึกษา : หลักการและแนวทาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

ธีระรัตน์ กิจจารักษ์. (2542). เอกสารคำสอนวิชาการบริหารการศึกษา. เพชรบูรณ์: สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

เบ็ญจรัตน์ นันททรัพย์, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน, และ สุพจน์ ดวงเนตร. (2566). การศึกษาการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(44), 143-152.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 19.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2542). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพล นิติไกรสรณ์. (2562). กฎหมายการศึกษาไทย : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. ใน รายงานการวิจัยรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประจำปีงบประมาณ 2562. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

Alston, P. (2009). The right to education. Oxford University Press.

Bartol, K. M. and Martin, D. C. (1991). Management. New York: McGraw-Hill

_____. (1997). Management. (2nded). New York: McGraw-Hill.

Crossley, M. (2014). The role of law in education. Routledge.

Dessler, G. (2004). Management : Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. (3thed). Florida: UG/GGS Information Services.

Dryden-Peterson, S. (2016). Education law and policy : An international perspective. Routledge.

Dubrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. South-Western : Cengage Learning.

Herbert, A. S. (1947). Administrative Behavior. New York: Macmillan.

Kelsey, J. (2012). The new Zealand education system : A critical analysis.

Oxford University Press.

Kennedy, D. (2008). The sources of law : An introduction to legal theory. Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30