การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • กิตติภาส นั่งสูงเนิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, การส่งเสริมคุณธรรม, จรรยาบรรณวิชาชีพของครูใน สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษาถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนจึงควรนำหลักธรรม พรหมวิหารธรรม อธิปไตย 3 และทุติยปาปณิกสูตร มาเป็นหลักในการบริหารการศึกษา อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นผู้บริหารที่สมบูรณ์ สร้างแรงจูงใจในความร่วมมือ เกิดการยอมรับ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถนำพาองค์กรให้พัฒนาก้าวหน้าด้วยความมั่นคง อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ การทำงานของผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน การควบคุมงบประมาณ นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้ได้นำไปปฏิบัติตนแต่ละด้าน ดังนี้ คุณธรรมต่อตนเอง คือ มรรคมีองค์ 8 คุณธรรมต่อผู้อื่นและสังคม คือ พรหมวิหาร 4 เบญจศีล สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมต่อหน้าที่การงาน คือ สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 พละธรรม 5 ผู้บริหารควรส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วย 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง 2) ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 4) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 5) ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม เมื่อครูมีคุณธรรมและจรรณยาบรรณวิชาชีพที่ดีและถูกต้อง จะส่งผลที่เป็นประโยชน์กับครู ดังนี้ 1) ช่วยหล่อหลอมให้เป็นคนที่มีความพอดี 2) ช่วยให้เป็นคนที่รู้จักใช้เหตุผล 3) ช่วยให้เป็นคนกล้าหาญ 4) ช่วยให้ครูมีความยุติธรรม 5) ครูประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ 6) ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสจากใจของผู้เกี่ยวข้อง 7) ลดการหาแต่ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งจะส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสุข คุณภาพชีวิตดี ก่อให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างยั่งยืน

References

กิตติศักดิ์ สมอเขียว. (2555). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเขาคันทรงอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขคพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ครูเชียงราย. (2564). ความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2567 จาก https://www.kruchiangrai.net

เฉลิมรัตน์ จันทรเคชา. (กรกฎาคม 2557). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ในโรงพยาบาลเอกชน การนิยามมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือวัด. Joural of Behavioral Science, 20 (2), 1-17.

ธีระศักดิ์ บึงมุม และพรพิพัฒน์ เพิ่มผล. (2560). การพัฒนาบุคลากรตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 49-60.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธัมมจิตโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543 ก). พจนานุกรมพุทธศาสตน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิจิตรธรรมาภรณ์. (2558). ความหมายของคุณธรรม. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2567 จาก http://portal.tebyan.net/Portal/Cultcure/

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2566). การประเมินความต้องการจําเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นําทางการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชการบริหารการศึกษา. มหาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3).นนทบุรี: โรงพิมพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนวดี โชติกพนิช. (2554). จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2550). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวีเคราะห์องค์การทางการศึกษาไท. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริถิ อาสนา. (2557). เทคนิคการจัดการคุณภาพแนวใหม่:แนวคิด หลักการสู่การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมยศ นาวีการ. (2550). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป.

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2567. จาก http://www.ksp.or.th/ksp2013/search/index.php?key=จรรยาบรรณ

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

Bartol, K. M. & Martin, D.C. (1997). Management. (2nded). New York: McGraw-Hill.

Good, C. V. (1974). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.

Gulick, L. (1937). Notes on the Theory of Organization. Classics of organization

theory, 3(2), 87-95.

Herbert, A. S. (1947). Administrative Behavior. New York: Macmillan.

Kohlberg, I. (1976). Moral Stages and MoraliZation: The Cognitive.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30