ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ รู้กิจ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารสถานศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันที่มีการเตรียมความพร้อมการดำเนินชีวิตตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมหรือการแสดงออกด้านความประพฤติ การกระทำ และการสื่อสาร ที่แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ในการนำและการบริหารจัดการองค์การของผู้บริหารจนได้รับความไว้วางใจ เกิดการยอมรับจากผู้ร่วมงาน โดยภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมนั้นประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจ ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความเคารพ และการเสริมพลังอำนาจ คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่สถานศึกษา ทำให้คนทั่วไปเกิดศรัทธาและไว้วางใจว่าสถานศึกษาจะเป็นแหล่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ และผลประโยชน์สูงสุดของการจัดการศึกษาจะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียน และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดแต่สิ่งที่คงอยู่ คือ คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารที่เป็นความสำนึกหรือความประพฤติที่ดีงาม นอกจากนี้ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารต้องเอาใจใส่เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นความต้องการของแต่ละบุคคล สร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้ตาม ทำให้ผู้ตามเกิดความเชื่อถือ มีความมั่นใจ ไว้วางใจ และต้องการที่จะพัฒนาองค์การให้บรรลุจุดมุ่งหมาย กระตุ้นให้เกิดปัญญาและค้นหาวิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ เพื่อการปรับปรุงการทำงาน และความสามารถในการตัดสินใจ

References

จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2566). ลาก่อน VUCA มาแล้ว BANI: ชวน ผอ. ปรับตัวและโรงเรียนให้ทันการเปลี่ยนแปลง เรียกใช้เมื่อ 24 มีนาคม 2567 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/652.

ปัทมา แคนยุกต์. (2554). รูปแบบการสร้างเสริมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้. ใน ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นาทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2556). ภาวะผู้นําเชิงปฏิบัติการ: LIFE MODEL. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิสต้าอินเตอร์ปริ้นท์ จํากัด.

มติชนออนไลน์. (2564). ผู้บริหารการศึกษาหรือผู้นำในยุค VUCA World. เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2567 จาก http://www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=1966.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2565). กรอบคิดจาก VUCA สู่ BANI เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1004689.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นํายุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2567 จาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world.

สมชาย เทพแสง และอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2557). ภาวะผู้นําจริยธรรม แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธการคุรุสภา. (2548). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู.กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม (Ethical Leadership). เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). “การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21,” Journal of Modern Learning Development. 5, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2563): 364-373.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัยรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2562.

Brown, Trevino, & Harrison’. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 21 2567 จากhttps://www.researchgate.net/publication/223180438_Ethical_Leadership_A_Social_Learning_Perspective_for_Construct_Development_and_Testing.

Kocabas, I., & Karakose, T. (2009). Ethics in school administration. African Journal of Business Management, 3(4), 126-130.

Mitzkus, S. (2022). BANI world: What is it and why we need it? Digital Leadership.เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 21 2567 จาก https://digitalleadership.com/blog/bani-world/.

Namprom, Thum. (2019). VUCA World ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2567 จาก https://reder.red/yuga-world-18-12-2019.

Northouse, Peter G. (2007). Leadership Theory and Practice. (3rd edition). Western Michigan University: SAGE Publications.

Plook Teacher. (2562). การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA. เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2567 จาก www.trueplookpanya.com/blog/content/76134/-blog-teaartedu-teaart.

Stephan Grabmeier. (2020). เรียกใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2567 จาก https://stephangrabmeier.de/bani-versus-vuca/.

Trevino, Harrison, and Brown. (2006). Ethical Leadership: A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2567 จาก

https://www.researchgate.net/publication/223180438_Ethical_Leadership_A_Social_Learning_Perspective_for_Construct_Development_and_Testing.

Yukl, G. A. (2010). Leadership in organizations (7th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01