การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share)

ผู้แต่ง

  • เอกศิษฏิ์ สมัครเขตการณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทรงภพ ขุนมธุรส มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การอ่านจับใจความ, วิธีสอนอ่านแบบ MIA, เทคนิคเพื่อนคู่คิด

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) กับเกณฑ์ร้อยละ 70  และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเขาหินเทิน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้
2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนการทดสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรวิภา ทรัพย์พร้อม. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบ MIA ตามแนวคิดของเมอร์ด็อค เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธันยพร อุดคำมี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ร่วมกับแนวคิดการใช้คำถามสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Research Methodology in Social Science). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ์การพิมพ์.

ปฏิญญา โกมลกิติสกุล. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีรศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66.

แวววัน มนูธาราม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2566 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

_______. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2566 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

_______. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2566 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

_______. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2566 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center) ปีการศึกษา 2566. เรียกใช้เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566 จาก https://portal.boppobec.info/obec66/publicstat/ report?areaCode=61010000&schoolCode=

สุภรณ์ หนูกุ้ง. (2544). การสร้างชุดการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามกระบวนการสอนอ่านแบบ MIA. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เสาวนีย์ ธนะสาร. (2553). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความและความสนใจการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจากการสอนอ่านตามแนวการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30