การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเรื่อง ตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
การเขียนเรื่องตามจินตนาการ, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย, แนวคิดสตีมศึกษาบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ยังมีไม่มากพอ ส่งผลให้ความสามารถเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไม่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เขตพื้นที่การศึกษากำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรื่องตามจินตนาการระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากกลุ่มโรงเรียนคณฑี 82 คน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าเสลี่ยง 13 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบการเขียนเรื่องตามจินตนาการ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบอัตนัย ประสิทธิภาพ E1/E2 และค่าสถิติที แบบไม่เป็นอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.54/81.15 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านท่าเสลี่ยง. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self–Assessment Report : SAR). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กำแพงเพชร: โรงเรียนบ้านท่าเสลี่ยง.
เกษม สุขช่วย. (2561). การเขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.6. เรียกใช้เมื่อ 26 มีนาคม 2566 จาก https://www.classstart.org/classes/29795?fbclid=IwAR0xmlbeKGo 94YY6-wi8NPi0ekRKvMoHUQBMZArolKGMChIDj_FdGSt_7QY
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ทัศน์ทยา บังวัน และคณะ (2566). การพัฒนาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องหลักการใช้ภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(4), 272-286.
ปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจในการสอนวิชาการรู้สารสนเทศด้วยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมและการสอนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. มนุษยศาสตร์สาร, 21(3), 43-62.
พัฒนา พรหมดี และคณะ. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศ (สสอท.), 26(1), 59–66.
ภิญโญ วงษ์ทอง และคณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้บรูณาการสตีมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(3), 151-169.
______(2565). การศึกษาความพร้อมพฤติกรรมการเรียนรู้และความพึงใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 166-180.
สุกัญญา รุจิเมธาภาส และคณะ. (2565). การพัฒนาหนังสือเรียนภาษาไทยสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 877-894.
วรรณรี วุ่นนุรักษ์. (2563). เอกสารประกอบการสอนเรื่องสร้างจินตนาการด้วยการเขียน.(พิมพ์ครั้งที่ 1). ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนวังไกลกังวล.
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอนชุดกิจกรรมการเรียนรู้และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 356-369.
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ.
สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). STEAM EDUCATION นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 1-16.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์ และ อัญชิษฐา จันเอียด. (2565). การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้วยระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2. วารสารราชภัฏสุราษฎร์, 9(1), 159-186.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก https://liketoreadsk1.files.word
press.com/2016/01/e0b884e0b8b3e0b88ae0b8b5e0b989e0b981e0b888e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980e0b882e0b8b5e0b8a2e0b899-e0b89b-e0b995.pdf
อัจฉรา ตาเล๊ะเจ๊ะโซะ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทยโดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
แผนบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1. (2566). เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2566 จาก https://sites.google.com/view/kpt1-actionplan/ขอมลโรงเรยน?authuser=0
Yakman, G. (2008). STEAM Education: An Overview of creating a model of Integrative education. Retrieved on May 27, 2023, from www.researchgate.net/profile/Georgette-Yakman-2