ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์อุเทน สุทฺธิจาโค (ไพรเขียว) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระครูบรรพตภาวนาวิธาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระอธิการอินทร์นุช สุวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, เจ้าอาวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส 3. นำเสนอแนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 167 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอ
สีดา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.28,S.D.=0.63) 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม พบว่า หลักการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (R=0.773**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา พบว่า หลักการบริหารจัดการวัดได้ส่งเสริมเกิดประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส มากยิ่งขึ้นมีลักษณะดังนี้ 1) ด้านคุณภาพของงาน คือ จัดหาบุคลากรทำงานได้ตรงเป้าหมาย ให้ความใส่ใจกับคุณภาพ ติดตามผลงานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย 2) ด้านปริมาณงาน คือ ปฏิบัติกิจกรรมภายในวัดตามแผนงาน แบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน กำหนดบุคคลเข้าทำงานที่เหมาะสมกับปริมาณ 3) ด้านเวลา คือ กำหนดเวลา จัดสรรเวลาได้ตรงตามเป้าหมาย กำหนดระยะเวลาให้แน่นอน เสร็จตามวันเวลาที่กำหนด 4) ด้านค่าใช้จ่าย คือ กำหนดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จัด คิดหาแหล่งเงินทุนการจัดงานที่หลากหลาย จัดทำบัญชีอย่างถูกต้องโปร่งใส

References

จุฬารัตน์ บุณยากร. (2550). วัดพัฒนา 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2526). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาเพื่อความมั่นคง แห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูปลัดเฉลิมพร อภิวโร (เเป้นกลม). (2562). ประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธวัชชัย จารุธมฺโม. (2552). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ : กรณีศึกษา วัดในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีระยุทธ์ อุชุจาโร (เอมเปีย). (2561). การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาสุชิน กิตฺติทินฺโน. (2544). ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวรเมศวร์ นาควโร (ยิ้มกรุง). (2559). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวรรณไชย มะยงค์. (2553). การบริหารกิจการคณะสงฆ์โดยหลักทศพิธราชธรรมในจังหวัดชุมพร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน (วิจารณ์ปรีชา). (2562). รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี. ใน ดุษฎีพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสีดา. (2564). ข้อมูลสถิติพระสงฆ์ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสีดา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2565). คู่มือการประเมินมาตรฐานการพัฒนาวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30