การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะ ของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนคราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระสำราญ ฐิตวิริโย (เชื้อจันทร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยะ มาธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสมุห์ธงชัย สนฺทราจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
(2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปายะกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
(3) นำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชน จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1.การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมาก ( =3.67, S.D.=0.43) 2. หลักสัปปายะ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด อยู่ในระดับสูงมาก (R=0.774**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด พบว่า หลักสัปปายะเป็นตัวส่งเสริมเกิดแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด มากยิ่งขึ้น ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสถานที่ คือ รณรงค์ให้ช่วยรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของวัด จัดระเบียบสถานที่ท่องเที่ยวของวัดให้เหมาะสมน่าชม จัดการสถานที่ท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่ดี สะอาด และปราศจากมลพิษ 2) ด้านบุคลากร คือ สร้างทีมงานที่มีความรู้ ทักษะ ใส่ใจในการบริการ การจัดบุคลากรอย่างเหมาะสมมีความสามารถเพิ่มประสบการณ์และทักษะ 3) ด้านการจัดกิจกรรมภายใน คือ พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้กับชุมชน มีการปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยวของวัดที่หลากหลายทันสมัยมากขึ้น 4) ด้านการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยว คือ จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวของวัด มีการเรียนรู้เรื่องประเพณีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ คือ สร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีของวัด สร้างสรรค์สิ่งสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2560 – 2564. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2565 จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.

พระครูพิทักษ์ศิลปาคม (นุชิต วชิรวุทฺโต). (2561). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีกิตยาธร (นนทชัย เจริญยุทธ). (2564). การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง). ในวารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 517-518.

พระครูโสภณธำรงกิตติ์ (กิติศักดิ์ สุทฺธจิตฺโต). (2561). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธัชธร สิริมงคโล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศิริชัย สิรินฺทณาโณ. (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสำราญ ฐานุตฺตโม (ประเสริฐซึ้ง). (2561). การจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิต จังหวัดนครราชสีมา. แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564). เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2566 จาก http://nkrat.nso.go.th

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30