แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอพุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาในอำเภอพุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 219 คน จาก 38 สถานศึกษา ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างโดยทำการใช้สูตรเครซี่และมอร์แกน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน รวม 14 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสังเคราะห์เป็นความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในอำเภอพุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอพุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) ระดับความเหมาะสมของแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในอำเภอพุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยภาพรวม มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 97.03
References
กนกกาญน์ ฉวีวงศ์. (2552). การศึกษาการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กันตยา มานะกุล. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านจอมจันทร์ หมู่ที่ 2 ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธิดารัตน์ มาตย์แท่น. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารจัดการการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
มาลีรัตน ทองแช่ม. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหัววัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สุราษฎร์ธานี : ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. เรียกใช้เมื่อ 11 ธันวาคม 2566, จาก https://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79 pdf.
อรดี ทิพย์พิทยานุวัฒน์. (2564). การบริหารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเอกชน จังหวัดลำปาง. ใน สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.