ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระมหาศักรินทร์ สุรเมธี (ศรีแจ่ม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูขันติธรรมธารี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาศักรินทร์ สุรเมธี (ศรีแจ่ม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, การบรรพชาอุปสมบท, พุทธศาสนิกชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบท (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบท (3) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบท ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.865 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 309 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์โดยใช้การถดถอยแบบขั้นตอน และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมาก ( =4.17) 2. ความพึงพอใจของบุคคล ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชน มี 2 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า ความพึงพอใจของบุคคล สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนร้อยละ 52.3 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางส่งเสริมการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชน พบว่า ความพึงพอใจของบุคคล เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชน ได้ทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะ ดังนี้ 1) ด้านการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ ได้ประกอบพิธีทางศาสนา ฟังธรรม น้อมนำไปปฏิบัติ 2) ด้านการทำหน้าที่ของคนไทย ได้แก่ ได้แสดงความกตัญญูกตเวที ได้ตอบแทนคุณบิดามารดา ได้เปิดโอกาสให้ได้สืบทอดพระศาสนา 3) ด้านการสนองพระคุณบิดามารดา ได้แก่ ได้เชิญชูคุณบิดามารดา อุทิศส่วนกุศลแก่เหล่าญาติ สร้างศรัทธาแก่วงศ์ตระกูล 4) ด้านการฝึกฝนอบรมพัฒนาตนเอง ได้แก่ พัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อโลก ได้มีการสร้างบารมีให้กับตนเองและครอบครัว

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิธานอุดมกิจ (ฉัตรชัย จงเจตดี). (2567). แนวทางส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 203-214.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2549). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสนธยา อธิจิตฺโต (แฝกสูงเนิน). (2564). ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการบวชของพุทธศาสนิกชนในอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสนธยา อธิจิตฺโต (แฝกสูงเนิน). (2564). ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการบวชของพุทธศาสนิกชนในอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐกรณ์ พงษ์ประเสริฐ. (2564). ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงจํานวนสามเณรในพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 9(5), 2143-2153.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอปากช่อง. (2565). สถิติภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอปากช่อง.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30