คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนสิน จันทเดช คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงา, อุตสาหกรรมการบริการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการ 2. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการ 3. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการ 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140  คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า

วัตถุประสงค์ 1. ข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 68.6 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.6 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 47.8 และมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.4 วัตถุประสงค์ที่ 2 ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวม มีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบในงาน เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านความผูกพันต่อองค์กร ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจในงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ วัตถุประสงค์ที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พบว่า ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความรับผิดชอบในงาน มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และวัตถุประสงค์ที่ 4 ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจในงาน มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการบริการในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกล. (2561). ปัจจัยเหตุและผลของผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ เขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ครรชิต ทรรศนะวิเทศ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับผลประกอบการ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(28), 124-133.

ณัฐฐา วรรณสุข และวาสิตา บุญสาธร. (2565). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน การคิดเชิงบวก และระดับความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(1), 219-231.

ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์. (2562). ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเลือกที่พักหรืออุตสาหกรรมบริการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2563). เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการเสริมแรงทางลบ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(3), 14-27.

ประเทือง มูลทองตน, ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และสาวิตตรี จบศรี. (2564). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมบริการระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), 39-49.

พิชญา วัฒนรังสรรค์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติของพนักงานอุตสาหกรรมบริการระดับ 4 ดาวย่านสยามสแควร์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมบริการระดับ 5 ดาว. ใน การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มาลินี คำเครือ และ นิรุตต์ จรเจริญ. (2564). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานที่มีต่อประสิทธิผลของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(4), 122-147.

รวินท์พร สุวรรณรัตน์. (2560). แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2566 – 2570. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/1f3_XjWnuhhFS5hD6Q-m0NWa3bQiS7X05/view

อภิวรรตน์ กรมเมือง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คุณภาพชีวิตการทำงานขั้นพื้นฐาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 13(2), 7-25.

อัจฉรา ภาณุศานต์ และอัควรรณ์ แสงวิภาค. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(1), 132-149.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28