การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุรสิทธิ์ ไชยสังกา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

หลักอปริหานิยธรรม 7 การมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2) วิเคราะห์การนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทางการเมืองที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและ 3) เสนอแนวทางการนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สร้างขึ้นโดยใช้การสังเคราะห์แนวคิด ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และอัลมอนด์และโพเวลล์  ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 948,310 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ ข้าราชการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และนำข้อมูลคุณภาพ มาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า 1)  การนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทางการเมืองที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดมหาสารคามโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตลอดถึงบรรพชิตในศาสนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเคารพสักการสถานของประเทศชาติบ้านเมือง ด้านการให้เกียรติสตรียอมรับความเท่าเทียมสตรีและบุรุษ (ด้านการร่วมกำหนดกฎเกณฑ์ทางการเมือง ด้านความพร้อมเพียงกันประชุม ด้านการเคารพประธานและความคิดเห็นของสมาชิกในที่ประชุม และ                      ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) วิเคราะห์การนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ไปประยุกต์ ใช้ในการส่งเสริมทางการเมือง พบว่า ตัวแปร 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมเพียงกันประชุม ด้านการเคารพ สักการสถานของประเทศชาติบ้านเมือง ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตลอดถึงบรรพชิตในศาสนา ร่วมกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ได้ร้อยละ 37.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ต้องดำเนินการสนับสนุนองค์กรประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับประชาธิปไตย ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองและรัฐบาลต้องพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ

References

ประยงค์ พรมมา. (2557). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานพ ซ้อนฟั่น. (2550). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุชานันท์ สาทา. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาจารย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนาจารย์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสงนภา ทองวิทยา. (2550). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการพัฒนาท้องถิ่น ศึกษากรณีจังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Almond, Gabriel A. and Jr. B.G. Powell. (1976). Comparative politics : a developmental approach. Boston : Little, Brown.

Krejcie R.V., and D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28