แนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อบริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สะใบทิพย์ ขาววิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุชาดา บุบผา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว, การบริหารจัดการเชิงรุก, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และ   ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการเชิงรุก เพื่อบริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวโดย   ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการเชิงรุก      เพื่อช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวโดย ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี                    3) เพื่อประเมินกระบวนการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว โดย                     ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ข้าราชการครู ครูอัตราจ้างหรือพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 118 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ (PNI Modified)  

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการ   เชิงรุกเพื่อบริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี    ประกอบไปด้วย สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นโดยภาพรวม     อยู่ในระดับมาก

2) กระบวนการบริการจัดการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว สรุปได้ว่าครูและบุคลากรต้องตระหนักในการเข้าถึงผู้เรียน และความพร้อมของครูผู้สอนที่ได้รับการพัฒนา     ให้มีความรู้ตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล โดยใช้กระบวนการจัดการ     เชิงรุกโดยใช้หลักการ PDCA

          3) ประเมินกระบวนการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวโดย                     ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี ควรจัดลำดับความต้องการจำเป็นลำดับที่สูงสุด คือ การตามแผนการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว การประชุมจัดทำแผนการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว การประเมินผลการใช้บริการตามแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน การพบปะครอบครัวครั้งแรก การตรวจประเมิน การทบทวนแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว และขั้นตอนการยุติแผนการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาสถานศึกษา. สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

เกตอรอินท์ ทิทักษ์โคชญากุล (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดศรีสะเกษ. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ธนนท์ วีรธนนท์. (2559).การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

นพดล ธุลีจันทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยา

สาส์น.

สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. (2556). การจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรัญจิต วรรณนวล. (2549). การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การศึกษานอกระบบ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สมพร หวานเสร็จ.(2557). แผนการให้การช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว. เรียกใช้เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557 จาก www.pbps.ac.th/share/knowledge/10.ppt

Decoster, D. (2009). Early intervention in the home for children under the age of threewith developmental delays: An in -depth examination of the interaction betweenservice providers and family members. USA: California

State University.O’Shea, L. et al. (2001). Families and Teachers of Individuals with Disabilities.Boston: Allyn & Bacon.

Kohler, P. D. (1996). Taxonomy for Transition Programming: Linking Research to Practice. Champaign: Transition Research Institute, University of Illinois.

Mary Jo Noonan, Linda McCormick. (1993). Early Intervention in Natural Environments.Methods and Procedures –Research Gate.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28