การพัฒนาทักษะการเขียนย่อความด้วยการจัดการเรียนการรู้ ด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ศิริเพชร มีไชโย สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์, เทคนิคเมตาคอกนิชัน, การเขียนย่อความ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ด้วยการจัดการเรียนการรู้ด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อด้วยการจัดการเรียนการรู้ ประชากร ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากกลุ่มหนองปลาไหลจำนวน 57 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล 15 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบการเขียนย่อความ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าสถิติที แบบไม่เป็นอิสระ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 3) ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2540). แนวทางการสอนที่เน้นกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนหนองปลาไหล. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self–Assessment Report : SAR). (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิจิตร: โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล.

เกียรติวรรณ อมาตตยกุล(2541). เลี้ยงอย่างแชมป์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.

จิรภัทร์ ธิปัญญา (2563). ผลการใช้กิจกรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : พี บาลานต์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ชาตรี สำราญ. (2543). ครูรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วลัย พานิช. (2547). การสอนด้วยวิธีสอตรีไลน์(Storyline). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร, พิวัสสา นภารัตน์. (2554). วิธีการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2553). ม.ป.ป.สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาศิลปะศาสตร์. การใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุโขทัย: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

อภิรดี สาลิกา. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกวลี ผังดี และ พิมพ์รดา ครองยุติ. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นภดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เจเนซิส มีเดียคอม.

พิชญา เจริญวนิช. (2560). ผลของการพัฒนาเมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบเจรจาต่อรอง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาณัฐพงศ์ คำมี. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร

เพ็ญนภา หมีโต (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันต่อมโนทัศน์วิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้ากระแสและเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเจตน์ พันธ์พรม. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชันและการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. 5. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28