การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิคการสอนตามรูปแบบ MACRO Model ร่วมกับแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ บุญมี สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กาญจนา วิชญาปกรณ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ทักษะการแต่งคำประพันธ์, กาพย์ยานี 11, การสอนตามรูปแบบ MACRO Model

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิคการสอนตามรูปแบบ MACRO Model ร่วมกับแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มที่ผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิคการสอนตามรูปแบบ MACRO Model ร่วมกับแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิคการสอนตามรูปแบบ MACRO Model ร่วมกับแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลรวมการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) ก่อนเรียนเท่ากับ 15.71 คะแนน และหลังเรียนเท่ากับ 22.32 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.70)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ข้อมูลนักเรียน สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์. (2566). 013 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.sec39.net/txtdb/code/ enterSchoolName.php

จรินทร์ งามแม้น. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง. (2555). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดลชัย อินทรโกสุม. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อย รำพึงในป่าช้า ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดิเรก วรรณเศียร. (2558). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evaluation). (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก : โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ผุสดี ศรีเมือง และคณะ. (2565). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 110-123

พงษ์ธลักษณ์ สิบแก้ว. (2561). การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและผลการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วัฒนา โทธานี. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการอสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ (Davies) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางคอย. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC Basic Education Research Journal. 3(2), 111-127.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (มปป.). ระบบบัญชีข้อมูล NIETS Data Catalog. เรียกใช้เมื่อ 11 สิงหาคม 2566 จาก https://catalog.niets.or.th/dataset/p6/ resource/c5e89cfa-0d60-44d3-a8ea-1774b0d9034b.

อารยา วิโรจน์. (2562). การพัฒนาการอ่านคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก. ใน รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28