ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธนพงษ์ กฤตธรรมรัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และสถานศึกษา แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t–test independent และการทดสอบ F-test (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD

ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการสนับสนุนสภาพแวดล้อมนวัตกรรม  ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการส่งเสริมสมรรถนะ ด้านกิจกรรมที่มุ่งเน้นนวัตกรรม และด้านการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ และ 2) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อทักษะความคิดเชิงนวัตกรรม    ของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นในภาพรวมแตกต่างกันอย่าง มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนครูที่มีระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน

References

กมลพรรณ วุฒิอำพล. (2562). ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของ

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1. ใน ปริญญามหา บัณฑิต. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กามนิต ใบภักดี. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาวิทยาลัย.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เตชินี ทิมเจริญ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ฐานการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่. วารสารDhammathas Academic Journal. 22(3),1

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2567). การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 13(7),1-20.

ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2565). นวัตกรรมคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง กระบวนการของ นวัตกรรม มีขั้นตอนอย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก https:// www.gotoknow. org/posts/ 541406.

วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์. (2564). งานประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2564. ในรายงานประเมินตนเอง, 1(1),3.

วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก. (2566). ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ สมุทรปราการ 2566. ในข้อมูลแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566, 1(1),3.

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ.(2565).งานประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาปีการศึกษา 2565. ในรายงานประเมินตนเอง, 1(1),4.

วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ. (2565). งานประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาปีการศึกษา 2565. ในรายงานประเมินตนเอง. 1(1),4.

วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2565). ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรม. Innovative Thinking. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/dr-Lek /2011 /07/05/entry-4.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษ ที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2),117-128.

อภิฤดี โหนา. (2565). ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามาตรฐาน

วิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพ มหานคร เขต1 .ในปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรชร ปราจันทร. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(1),6.

Adair, John E. (1996).Effective Innovation. How to Stay Ahead of the competition

London : Pan Books.

David Weiss and Claude Legrand. (2011). Innovative Intelligence. The Art and Practice of Leading Sustainable Innovation in Your Organization. Ontario : John Wiley and Sons.

David Horth and Dan Buchner (2014). Innovation Leadership. Six Innovative Thinking Skills. How to Use Innovation to Lead Effectively. Work Collaboratively, and Drive Results. San Diego : The Center for Creative Leadership.

DSPD REPORT. (2566).ระบบให้บริการรายงานข้อมูลการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2566. จาก http://personnel-report.vec.go.th/.

Christiansen, James A. (2000). Building the Innovative Organization. Management Systems that Encourage Innovation. Hampshire: Macmillan Press.

Hoidn, S., & Karkkaunen, K. (2014). Promoting skill for innovation in higher Education. A literature review on the effectiveness of problem-based Learning and of teaching behaviors. N.P : OECD Education Working paper.

HR OD. (2019). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 จาก https:// th.hrnote .asia /or development /190702-design-thinking/.

Tidd, Bessant,and Pavit. (2001). and Jeff Dyer. Hal Gregersen and Clayton Christensen. (2011). the Innovator's DNA : Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators.

Tidd,J. (2006). From Knowledge Management to Strategic Competence. Measuring Technological : market and organizational innovation Imperial College Press.

von Stamm, Bettina. (2008). Understanding innovation. Mind and heart Commissioned. By the UK’s Creative & Cultural Skills Council. Retrieved 10 January 2024 From http://www.ccskils.org.uk.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28