การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืน ของจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ปรีชา หอมประภัทร วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นัสพงษ์ กลิ่นจำปา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ดนัย ลามคำ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หัวหน้าครัวเรือน ในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จำนวน ทั้งสิ้น 11,284 คน คำนวนขนาดตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.820 ผลการวิจัยพบว่า  

  1. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการแสวงหาและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ( =3.54) รองลงมา คือ ด้านการให้บริการท่องเที่ยว ( =3.29) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( =3.08)
  2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนของจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน นำมาจำหน่ายเป็นของฝากประจำชุมชนได้ มีตลาดอย่างถาวรเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ขายอย่างจริงจัง เป็นตลาดการท่องเที่ยว เป็นจุดรวมการขายสินค้าโอทอป ประชาชนจะได้มีรายได้เพิ่ม

References

ชัยเดชปกรณ์ รองมีและกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์.(2564). การศึกษาความคิดเห็นของ ประชาชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลบาง กระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 123 - 132.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564). Access on May 2, 2020.

ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์. (2562). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าการ ท่องเที่ยวบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง.สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ และคณะ. (2558). บทเรียนของชาวประมงพื้นบ้านในการดำเนินงานธุรกิจสัตว์น้ำสีเขียวและฟื้นฟูสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลชุมชนเกาะมุกด์จังหวัดตรัง. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(4), 174-196.

เทิดชาย ช่วยบา รุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2566 http://kpi.ac.th/media/pdf/M10_213.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ผกาวัลย์ พงษ์สระพังและ ชาญยุทธ หาญชนะ (2565) วิจัยเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู, Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5),91-103.

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ. (2563). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวชุมชน. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 1 - 12.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองบัวลำภู. (2565). ข้อมูลด้านท่องเที่ยว.อำเภอ เมืองจังหวัดหนองบัวลำภู.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

Goodwin, H. & Santilli, R. (2009). Community-based tourism: A success. Leeds: ICRT Occasional Paper No. 11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28