รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • สุวิชญา ชินธนาชูกิจ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ, การเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน, โรงเรียนราชประชานุเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง จำนวน 586 คน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันความต้องการจำเป็นด้วยแบบสอบถามกับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู จำนวน 57 คน และสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ ด้วยแบบสัมภาษณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้วยการสังเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบ สัมภาษณ์แนวทางการพัฒนารูปแบบกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนด้วยการสนทนากลุ่ม 4) เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติยกร่างคู่มือการใช้รูปแบบ ตรวจสอบร่างคู่มือการใช้รูปแบบกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 5) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ โดยการทดลองแบบ One-Shot  Case  Study  และประเมินผลการใช้รูปแบบด้วยการให้ครูวัดสมรรถนะ จำนวน 605 คน  และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู รวม 57 คน 6) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้วยการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ กับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู จำนวน 57 คน 7) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ  กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน พร้อมประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบาย

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะประกอบด้วย 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) คุณลักษณะ และผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
  2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการจำเป็น พบว่า ในภาพรวมของ อยู่ในระดับมาก และภาพรวมของสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็น ในภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.202
  3. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ส่วนนำ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบองค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ
    1) กระบวนการพัฒนา 2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ 3) สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ องค์ประกอบที่ 3) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ 1) นโยบายของผู้บริหาร 2) ความร่วมมือของคณะดำเนินการ
  4. ผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า คู่มือการใช้รูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1บทนำ 1) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2)วัตถุประสงค์ของคู่มือส่วนที่ 2 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสู่การปฏิบัติ 1) คำแนะนำการใช้รูปแบบ 2) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา 3) บทบาทของครู ส่วนที่ 4 บรรณานุกรม
  5. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า ในภาพรวม การวัดสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
  6. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า ในภาพรวม มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
  7. ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ พบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกกาญจน์ คําบุญชูและ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). คุณลักษณะขอผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), 398-410.

จิรศักดิ์จันกัน, ฉลอง ชาตรูประชีวิน และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2567). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12 (2), 567.

ชนัญญา สุขสมวัฒน์, สุวิมลว่องวาณิช, และชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน: คราวด์ซอร์สซิ่ง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), 1-14.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาสน์ จำกัด.

ศฤงคาร ใจปันทา. (2563). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิมล วองวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความตองการจำเป็น (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท (1991).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2562 จากhttp://social.nesdb.go.th.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

สารสนเทศโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50. (2565). รายงานข้อมูลสถานศึกษาของศึกษาสงเคราะห์-ราชประชานุเคราะห์ เรียกใช้เมื่อ 24 มีนาคม 2565 จาก http://www.specialset.bopp.go.th/set_index/index.php?page=schooledu.

ฉกาจ สุดแก้ว. (2563). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ การสร้างทักษะผู้ประกอบการของกลุ่มครูผู้สอน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ในประเทศไทย ในบริบทการศึกษา นอกระบบ. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28