บทบาทของผู้นำทางการบริหารการศึกษาในยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ ไชยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้นำ, ทางการบริหารการศึกษา, ยุคใหม่

บทคัดย่อ

ในยุคใหม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมืองสังคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างเร่งรีบโดยการมุ่งให้ประชากรของประเทศมีลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ร่วมมือกันเสริมสร้างชุมชนสังคมและประเทศชาติ กระบวนการทางการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของตนและแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารหารหารศึกษาในยุคใหม่ ประกอบด้วย บทบาทในฐานะผู้นำทางวิชาการ บทบาทในฐานะผู้รักษาระเบียบวินัย บทบาทในฐานะผู้ประเมิน บทบาทในการทบทวนนโยบาย บทบาทในการการบริหารหลักสูตรและการสอน บทบาทในการกำหนดตารางการปฏิบัติงาน บทบาทในการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ บทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร บทบาทในการประชาสัมพันธ์บทบาทในการประสานสัมพันธ์กับชุมชน สามารถคิดวิเคราะห์ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารยังมีฐานะผู้นำองค์การ จำเป็นต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะกระบวนการทางการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ .(ฉบับที่ 3). พ.ศ. 2553 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

จริญญาภรณ์ ศรีจันดารี และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 866-875.

ฐิติวัสส์ หมั่นกิจ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา.วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(3),124-140.

พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม (ทองแก้ว). (2557). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 89-102.

พินิจ โคตะการ. (2559). ผู้นำและภาวะผู้นำกับความสำเร็จขององค์การ. เรียกใช้เมื่อ 23 กันยายน 2563 จาก http://phinit0112.blogspot.com/2016/02/

พิชญาภา ยืนยาว. (2562).ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). สถานศึกษากับการจัดการความรู้เพื่อสังคม. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

ศศิรดา แพงไทย. (2559).บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 7.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). การบริหารเขตพื้นที่การศึกษา: เพื่อคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

Glickman Carl D. S.P.; & Ross-Gordon, J.M. (2007). Supervision and Supervision and Curriculum Development. 135-148. Instructional Leadership: A Developmental approach. (7 th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30