การบริหารสถานศึกษาตามหลักกาลมสูตรในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ ไชยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, หลักกาลมสูตร, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีดิจิทัลอีกมากมายที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริหารในองค์กรต่างๆ และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของผู้คนซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ การศึกษาล้วนแล้วแต่เป็นผลมากจากวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นองค์กรต่างๆ ต้องตระหนักถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อปรับเปลี่ยนและค้นหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงสถานศึกษาที่จำเป็นจะต้องปรับตัวและค้นหาแนวทางในการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่จะเป็นเครื่องมือในการบริหารสถานศึกษาภายใต้กระแสของความเจริญในโลกเทคโนโลยี คือหลักกาลมสูตรเป็นพระสูตรอันว่าด้วยเรื่อง ความชื่อ และ การใช้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ ในการตัดสินใจต่อสื่อข่าวสารและ รวมทั้งส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลด้วย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน: พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ธงชัย สมบูรณ์. (2560). โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษาและปัญญาของชาติ. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2566 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_783896.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2559). โลกยุค 4.0 World 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการกองทัพบก.

พุทธทาสภิกขุ. (2540). ฟ้าสางทางการขุดเพชร.ธรรมทานมูลนิธิ และ สนพ. สุขภาพใจ. สำนักพิมพ์ ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). การเสริมสร้างทักษะชีวิต ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ อัมพรวิสิทธิ์โสภา. (2560). การเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิวิธภาษาและวรรณคดีวิจักษ์ ม.1.ภูมิบัณฑิต.

ไวส์ โลจิสติกส์. (2565). ยุคดิจิทัล 4.0 เมื่อดลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. เรียกใช้เมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก https://www.wice.co.th/2018/01/11/digital-4-0-technology/

เอกชัย กี่สุขพันธ์ .(2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2561 จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/52232

Tracey Wilen. (2018). Digital Disruption: The Future of Work, Skills, Leadership, Education and Careers in a Digital World, New York: Peter Lang Inc.

Steve Case. (2016). The Third Wave: An Entrepreneur’s Vision of the Future New York: Simon & Schuster, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30