การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสินค้า FMCG ในยุค Next Normal

ผู้แต่ง

  • จุฑาภัค จันทรนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ธนากร รัชตกุลพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, โรคโควิด-19, การตลาด, Next Normal, 4Ps

บทคัดย่อ

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจสินค้า FMCG ในยุคหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ บทความนี้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของส่วนประสมทางการตลาด 4P ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ราคา สถานที่จัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขายในช่วงยุคก่อน ระหว่างและหลังการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจสินค้า FMCG

ในยุคก่อนโควิด-19 ธุรกิจ FMCG เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ การตั้งราคาที่แข่งขันได้ การใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิมและการส่งเสริมการขายผ่านสื่อแบบเดิมเมื่อการระบาดของโควิด-19 เริ่มขึ้น ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วโดยหันมาเน้นการผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของผู้บริโภค การตั้งราคาที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัลในการส่งเสริมการขาย

ยุคหลังโควิด-19 ธุรกิจ FMCG จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ต้องมีนวัตกรรมและตอบสนองความต้องการด้านสุขอนามัยและความสะดวกสบายมากขึ้น ราคาต้องมีความยืดหยุ่นและโปร่งใส ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องเน้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์และการส่งเสริมการขายต้องใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ดังนั้นการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับกลยุทธ์การตลาดและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจ FMCG สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ธุรกิจสินค้า FMCG มีความสามารถในการแข่งขันและประกอบธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

จากการศึกษานี้พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและตอบสนองต่อสุขอนามัย การตั้งราคาที่โปร่งใสและยืดหยุ่น การใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์และการใช้สื่อดิจิทัลในการส่งเสริมการขาย เป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจ FMCG ต้องนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดและความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในยุค Next Normal อีกทั้งการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Author Biography

ธนากร รัชตกุลพัฒน์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ประจำวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

References

กานต์พัชธธ์ เล็กศรีสกุล. (2558). พัฒนาการกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารการตลาดตามกรอบแนวคิดการตลาด 3.0 ของบริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด. ใน วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฑามาศ งามไพโรจน์พิบลย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้า FMCG ทางออฟไลน์และออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐยา พรหมรศ. (2563). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าออนไลน์ ช่วงก่อนและระหว่างภาวะวิกฤตโควิด-19. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2564). การตลาดเชิงเนื้อหาของสินค้าแฟชันในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 45-60.

ลักษิกา นุชอุดม. (2564). ทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ประเทศไทยต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19. วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรธา มงคลสืบ. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 1-20.

Acikgöz, B. (2018). Product strategies of companies in the FMCG industry: A review of the literature.

Ali, A., & Muhammad, K. (2021). Impact of promotional tools on consumer buying behavior: A case of FMCG industry.

DEPA. (2020). Big Data and COVID-19. Retrieved from https://www.depa.or.th/th/article-view/big-data-covid19 สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.

Fareniuk, Y. (2022). Marketing strategy optimisation in FMCG market.

Haddad, M. (2016). 21st century FMCG consumer marketing: Creating customer value by putting consumers at the heart of FMCG marketing strategy.

Kasikornbank. (2020). ผลกระทบ Covid-19คาดทำให้ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้.Retrieved from https://www.kasikornbank.com/en/business/Foreign-Exchange-Market/KBankCapitalMarketPerspective/KBank%20Reflections%20on%20Markets%20-%20ผลกระทบ%20Covid-19%20คาดทำให้%20ธนาคารกลาง.%20ลดดอกเบี้ย%202%20ครั้งในปีนี้.pdf สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.

Krungsri Research. (2020). Research Intelligence: Post COVID-19. Retrieved from

https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-post-covid-19 สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.

Krungsri Wealth. (2020). New Normal to Next Normal. Retrieved from

https://www.krungsri.com/th/wealth/krungsri-prime/privileges/articles/new-normal-to-next-normal#:~:text=%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%20New%20Normal%20%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99,Next%20Normal%20%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87 สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.

Niros, M. I., Niros, A., Pollalis, Y., & Ding, Q. S. (2023). Effective marketing strategies for global FMCG brands during COVID-19 pandemic crisis.

Sharma, S., & Sharma, P. (2017). Marketing mix strategies for FMCG companies in India. Indian Journals.

Sisodiya, P., & Sharma, G. (2018). The impact of marketing mix model/elements on consumer buying behavior: A study of FMCG products in Jaipur city. International Journal of Technical Research & Science, 3(1).

Trihatmoko, R. A., & Mulyani, R. (2018). Distribution strategy for new product marketing success: Fast moving consumer goods (FMCG) business.

The Momentum. (2020). Technology in the Time of COVID-19. Retrieved from https://themomentum.co/technology-in-the-time-of-covid-19/ สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30