การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: โปรแกรม, ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) เพื่อสร้างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครูเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 316 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
2) แบบสัมภาษณ์ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 4) แบบสอบถามความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และแนวทางการประเมิน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ได้โปรแกรมสำหรับพัฒนาครูให้มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างครูให้เป็นนวัตกรในการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติพัฒน์ คำแพง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของครูกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 14-29.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เพชรจันทร์ ภูทะวัง. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาลิตา พรมโสภา. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชต์สุพล วิเศษศรี. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2564. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.

________. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ปี (2566-2570). กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.

WEISS, David S. and LEGRAND, C. (2011). Innovative intelligence: The art and practice of leading sustainable innovation in your organization. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28