การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • รัตน์ฐาภัทร์ ธนโชติสุขสบาย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บัญชา ศิริเรืองชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • พิศุทธิ์ บัวเปรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

Educational Administration, Graduate School of Western University, Thailand

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 234 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย

  1. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ เริ่มจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ
  2. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตำแหน่งรองผู้บริหารหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และหัวหน้างาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าผู้ปฏิบัติการสอน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านหลักนิติธรรม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กมลพันธุ์พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรวรรณ มีภูมิ. (2564). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. 1865-1879.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล(Good governance) ในสังคมไทย.กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปรัชญา คล้ายชุ่มและคณะ. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 156-165.

พิมลวรรณ บุญเจริญ. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูกลุ่มโรงเรียน ในอําเภอธัญบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุภัทสรานันท์ โพธิ์กัน. (2561). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30