รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • อลงกต คชสาร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • รัตน์ฐาภัทร์ ธนโชติสุขสบาย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, การจัดการสถานศึกษา, ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  และ2)เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศและ 3)เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  โดยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษารองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอน สภานักเรียน และนักเรียนในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 129 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายและพรรณนา

  ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพการบริหารจัดสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
  2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารองค์กร การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติด้านการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร.

จิตราภรณ์ สามไชย. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในจังหวัดกำแพงเพชรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชนะชัย แจ้งสว่าง. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 7(20),217.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในปี 2550 - 2559.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่. ใน การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

สุพิศ โสภา, กุหลาบ ปุริสาร, ละเอียด จงกลนี, สมลักษณ์ศรีนวกุล. (2560). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น กรณีศึกษา โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(2).

สุนทร ลาวัลย์. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ กรณีศึกษา โรงเรียนกัลยาณวัตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

ปรีชา ดาวเรือง. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1),47.

อุดม ชูลวีรรณ, (2561). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Mansilla, V. B. & Jackson, A. (2011). Educating of Global Competence: Preparing Our Youth to Engage the World. New York: Asia Society

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30