แนวทางการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ช้างคำ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พิทยา แสงสว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การคัดกรองนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์จุดแข็ง โอกาส แรงบันดาลใจ ผลลัพธ์ 2) สร้างและตรวจสอบแนวทาง 3) ทดลองใช้และประเมินแนวทางการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ในการวิเคราะห์จุดแข็ง โอกาส แรงบันดาลใจ ผลลัพธ์ สร้างและตรวจสอบแนวทาง ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน ในการทดลองใช้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ประเด็นการสนทนา แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แบบประเมิน แบบถอดบทเรียน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ จุดแข็งของโรงเรียน การทำงานเป็นทีม การมีภาคีเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง โอกาส คือ ผู้บริหารสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ครู แรงบันดาลใจ คือ ครูมีความต้องการพัฒนาทักษะการทำงานให้สูงขึ้น และผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้น คือ นักเรียนได้รับการพัฒนาจากการคัดกรองที่ถูกต้อง ครูใช้การคัดกรองนักเรียนได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. ผลการสร้างและตรวจสอบแนวทาง มีองค์ประกอบดังนี้ (1) ด้านปัจจัยนำเข้า
    (2) ด้านกระบวนการ (3) ด้านผลผลิต และผลการตรวจสอบแนวทางมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
  3. ผลการทดลองใช้ มีการสะท้อนผลและถอดบทเรียนผลการดำเนินงานหลังปฏิบัติงาน (AAR) (1) ด้านปัจจัยนำเข้า ทีมนำมีภาระงานหลายด้านจึงมีเวลาในการเตรียมการน้อยเกินไป (2) ด้านกระบวนการ ครูยังไม่เกิดทักษะเท่าที่ควร ให้ผู้บริหารได้เข้าร่วมวง PLC ของครูครบทุกครั้งเพื่อรับทราบปัญหาที่พบขั้นการปรับปรุง (3) ด้านผลผลิต ข้อมูลสารสนเทศและผลการจัดกลุ่มที่ผ่านการคัดกรองครูต้องรักษาความลับของนักเรียนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

References

กนิษฐ์ฎา แก้วจินดา. (2560). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 118-132.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือครู ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม เส้นทางสู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.

ชนม์พิชา กิตติญาณกุล และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารบัณฺตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1-10.

นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 6(2), 844-862.

เนตรนภา คำหนองหว้า. (2560). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เปรมยุดา สุดจำ. (2564). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โควิด-19. วารสารบวนสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 10-17.

ภิญโญ รัตนาพันธ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 6 (2), 7-20.

โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2566 จาก http://www.muangklang.ac.th

โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม. (2566). รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2566 จาก http://www.muangklang.com

วนิดา แสนอินต๊๊ะ. (2565). การพััฒนากลยุุทธ์์เพื่อการบริหารโรงเรียุนเอกชนในสัังคมไทยปัจจุบันโดยใช้ SOAR Analysis. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 51-63.

ศรัณย์ เปรมสุข. (2566). การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนทิพย์.

เอนก อินัง. (2563). แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28