แนวทางการบริหารโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี สู่ความเข้มแข็ง

ผู้แต่ง

  • ปริญญา พวงจันทร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชินวงศ์ ศรีงาม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ละมุล รอดขวัญ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

Management Guidelines, Model Schools Healthy Thai Students, Strength

บทคัดย่อ

 ปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลให้การดำเนินชีวิตและสุขภาพของประชาชนยุ่งยากและชับซ้อนมากขึ้น การต่อสู้ดิ้นรนแข่งขันกันในทางสังคมและเศรษฐกิจทำให้ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพจะพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในวัยเรียนหลายประเภท โรงเรียนจึงต้องมีหน้าที่ในการส่งเสริมบุคลากรในโรงเรียนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โรงเรียนทุกแห่งจึงควรเป็นโรงเรียนที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรและนักเรียนโดยมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ที่ดี ตามมาตรฐานทั้ง 5 มาตรฐานของโครงการโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี และเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของโครงการนี้ จึงนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็ง ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และการเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มมาเป็นแนวทางการบริหารโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดีสู่ความเข้มแข็ง โดยการสร้างความเข้มแข็งด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานได้แสดงออกถึงความรู้ความสามารถและทักษะในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ ส่วนการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน จะต้องมีการจูงใจบุคลากรเพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีกำลังใจ ตั้งใจและเต็มใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและการเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม จะต้องมีการสอดแทรกเทคนิคการทำงานแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถนำมาเป็นแนวทางการบริหารโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี สู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนสืบไปในอนาคต

References

ฐานข้อมูลกองการต่างประเทศ. (2566). Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ มีนาคม 2567 จาก https://fad.mnre.go.th/

ทิศมา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2566). รายงานสุขภาพคนไทย. เรียกใช้เมื่อ เมษายน 2567 จาก https://www.thaihealthreport.com/th/index.php

. (2566). รายงานสุขภาพคนไทย. เรียกใช้เมื่อ มีนาคม 2567 จาก https:// www.thaihealthreport.com/th/index.php

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand). (2559). เป้าหมาย

การพัฒนาที่ยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ เมษายน 2567 จาก https://www.sdgmove.com

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2556). คู่มือโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน. (2566). คู่มือดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เรียกใช้เมื่อ กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.rdpb.go.th/th/King/

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. เรียกใช้เมื่อ เมษายน 2567 จาก https://nutrition2. anamai. moph.go.th/

Gibson, C.H. A. (1993). Concept analysis of empowerment. Journal of Advance Nursing.

Herzberg, F. (1959). The human problem of management. Englewood Cliffs, CA: Thomson/Wadsworth.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

McClelland, D. C. (1961). Human motivation. New York: Cambridge University. Press.

Scott, C.D., and Jaffe, D.T. (1991) Empowerment : Building a Committed Workface. California.

Tebbitt., “Dermystifying organization empowerment.” Journal of Nursing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30