อรรถประโยชน์และความท้าทายของการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม (สาฆ้อง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุนทรธรรมนิเทศ (จารุวัฒน์ จันทะพรม) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาทศพร สุมุทุโก (อ่อนน้อม) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชาญพัฒน์ ขำขัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • ณัฐวุฒิ สงวนงาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Using online media, Academic Service Center, Utilities and Challenges.

บทคัดย่อ

การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในปัจจุบัน ความเจริญและการเติบโตแบบก้าวกระโดดของสื่อ ผู้ใช้สื่อและผู้รับสามารถสร้างความศรีวิไลและความสะดวกสบายให้กับมวลมนุษยชาติอย่างเอนกอนันต์และในทางตรงกันข้ามก็ได้สร้างมหันตภัยให้กับผู้รู้ไม่เท่าทันสื่อด้วยเช่นกัน บทความนี้ต้องการสะท้อนการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อสนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพมีอรรถประโยชน์และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการเปิดโอกาสแก่นักศึกษาทุกคนในการเข้าถึงความรู้และการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาเชิงพาณิชย์หรือที่ไม่มีความสามารถทางการเข้าถึงทรัพยากรการศึกษาในระดับสูง ดังนั้น ศูนย์บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางในการพัฒนาและสนับสนุนการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งด้านอรรถประโยชน์และความท้าทาย ประเด็นด้านอรรถประโยชน์ประกอบด้วย การเข้าถึงความรู้และการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การสร้างชุมชนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้อิสระ การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนแบบไดนามิก ส่วนประเด็นด้านความท้าทาย ประกอบด้วยการจัดการข้อมูลและความเชื่อถือได้ และการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). Social media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารวิชาการVeridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 6(1), 72-81.

บุญค้ำ ดีสุขสาม และดวงกมล โพธิ์นาค. (2557). แนวคิดการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทาง

การเผยแพร่พระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(1), 161-167.

ปราโมทย์ เหลาลาภะ (2563). การรู้สารสนเทศ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2557). การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการเผยแผ่ธรรม. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2567. จาก: http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=25098

พระมหาทองเก็บ ญาณพโล และคณะ. (2567). การสะท้อนมุมมองเทคโนโลยีกับการเผยแผ่พุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(2), 377-393.

พิเชฐ ทั่งโต. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับยุทธศาสตร์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคออนไลน์.วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 62-75.

พินิจ ลาภธนานนท์ และแทนพันธุ์ เสนะพันธุ์บัวใหม่. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมของพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2567). ศูนย์บริการวิชาการ. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2567 จาก: https://cas.mbu.ac.th/

มานิต คาวีวงศ์. (2562). เทคโนโลยีการสื่อสารจากอดีตจนถึงปัจจุบัน. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2567. จาก: https://www.ay-sci.go.th/aynew/620331-3/

วรเชษฐ์ โทอื้น. (2566). สื่อการสอนรายวิชามนุษย์กับการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร.

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5. (2557). เกริ่นกล่าวเล่าความการเกิดสถานีวิทยุ. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2567. จาก: http://www.tv5.co.th/web56/about/abhis.html

สมศักดิ์ บุญปู่. (2555). การพัฒนาการศึกษาคณะสงฆ์ไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2567.จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=731&articlegroup_id=157

สานิตย์ กายาผาด และคณะ. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

อุษณีย์ ศรีสวัสดิ์. (2559). ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์แอปพลิเคชันไลน์เพื่อการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่กำาลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมทร. พระนคร, 1(2), 14-21.

Mankiw (2005). Principles of Economics, Harcourt Brace.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30