การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ,การเลือกตั้ง,นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบตฯ เป็นปัญหาที่สร้างความท้าทายและน่าให้ความสนใจเนื่องจากปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ที่มาจากคุณสมบัติส่วนบุคคล นโยบาย ตลอดจนความชอบส่วนบุคคลที่มีต่อผู้สมัคร เพราะฉะนั้นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนเสียงจึงเป็นส่วนสำคัญ เพื่อทำให้เข้าใจถึงกระบวนการในการตัดสินใจของประชาชน และสามารถสร้างหรือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งอย่างมีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพอันเป็นการดำรงไว้ซึ่งความเป็นประชาธิปไตยที่ชอบธรรมของคนไทยต่อไป
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน และ 3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 378 คน จากประชากร จำนวน 7,045 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความรู้ ความสามารถ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ด้านวิสัยทัศน์ 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายกฯ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีการตัดสินใจของประชาชน โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีการตัดสินใจของประชาชน ไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะ นายก อบตฯ ควรพัฒนาทักษะด้านความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง โดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินการบริหารงาน และพัฒนาหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์อย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในกระบวนการเลือกตั้ง
References
ชยพล ธานี. (2562). ความสำคัญของการเลือกตั้งและกฎหมายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งปี 2562. รายการเจตนารมณ์กฎหมาย: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ภัทรพล เสริมทรง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วารสารวิจััยศรีล้้านช้้าง, 2(4), 45-56.
นุกูล ชิ้นฟัก,วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมลและจิราพร ปลอดนุ้ย. (2560). พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (น.3-4). สงขลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ไกรลาศ พลไชย. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2562. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
ปัณณทัต นอขุนทด. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. ใน สารนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุดสาคร ทิสาระ. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ใน สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุภี นะที. (2564). การตัดสินใจในการเลือกตั้งของประชาชนแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์วิทยาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.