การตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง คลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, การเลือกตั้ง, พรรคการเมืองบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกพรรคการเมืองในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 129 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ด้านนโยบายของพรรคการเมือง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองและผู้สมัคร 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษา มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อยสามลำดับแรก คือ พรรคการเมืองและผู้สมัครควรมีวิธีการในการหาเสียงที่หลากหลาย เช่น Facebook Instagram TikTok ฯลฯ พรรคการเมืองควรมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนได้รับสิทธิหรือสวัสดิการของรัฐที่เท่าเทียม และผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นบุคคลที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่ดี มีประสบการณ์ในการทำงาน ตามลำดับ
References
ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี : ศึกษาวิจัยในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2560. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี. (สำเนา)
ธนกร ภัทรบุญสิร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2562. งานค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
ธมลวรรณ วรรณปลูก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี : ศึกษากรณี เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน งานค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2540). หลักการกําหนดที่พิจารณาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2546). การบริหารเชิงยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 31. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book31.html.
เสาวนีย์ ศิริพจนานนท์. (2554). การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษาเฉพาะกรณี เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสุโขทัย. ใน วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Ranny, Austin. (1993). The Grvening of Men. New York: Holt Rinehart and Winston.